วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

วิจัย "กะเม็ง-กระชาย" มีฤทธิ์ต้านไวรัส "HIV"

วิจัย "กะเม็ง-กระชาย" มีฤทธิ์ต้านไวรัส "HIV"

ผู้ป่วย HIV มีความหวังขึ้นมาแล้ว และเป็นข่าวดีของคนไทยด้วย คราวนี้โด่งดังไปทั่วโลกจริงๆ เสียที

วิจัย "กะเม็ง-กระชาย" มีฤทธิ์ต้านไวรัส "HIV"


กะเม็ง (ภาพจาก herbal.pharmacy.psu.ac.th)



กระชาย สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี (ภาพจาก http://www.bpp.go.th)




นัก วิจัย ม.อ. ศึกษาสารสกัดจาก "กระชาย" และ "กะเม็ง" พบมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเอชไอวี หวังพัฒนาเป็นยารักษาผู้ป่วยเอดส์ ส่วนกระชายดำและทองพันชั่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและภูมิแพ้ หนุนใช้สมุนไพรในตำรายาไทย พร้อมเตือนให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผ่านการรับรอง และใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกายหากใช้มากเกินไป


รศ.ดร.สุ ภิญญา ติ๋วตระกูล นักวิจัยและอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรในตำรายาไทย โดยพบว่าสารสกัดจากกระชายและกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี (HIV) ส่วนกระชายดำและทองพันชั่งช่วยต้านการอักเสบและต้านภูมิแพ้ได้


"จาก ข้อมูลการใช้กระชายเป็นสมุนไพรรักษาโรคฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ จึงทดลองนำกระชายมาทำเป็นสารสกัดหยาบ แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ พบว่าสามารถยั้บยั้งการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีได้ในหลอดทดลองเช่นเดียว กับสารสกัดหยาบจากกะเม็ง" รศ.ดร.สุภิญญา อธิบาย


เมื่อ พบว่าสารสกัดหยาบจากสมุนไพรดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวีได้จริง นักวิจัยจึงทดลองแยกสารสกัดหยาบให้ได้เป็นสารบริสุทธิ์ แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ พบว่าสารแพนดูราติน เอ (Panduratin A) และไฮดรอกซีแพนดูราติน เอ (Hydroxypanduratin A) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสของเชื้อเอสไอวี (HIV-1 protease)


ส่วนสารออโรบอล (Orobol) และ เวเดโลแลคโตน (Wedelolactone) ที่แยกได้จากใบกะเม็ง มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อินทีเกรส (HIV-1 integrase) ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมสายดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเข้ากับดีเอ็นเอของคน จึงทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่สามารถแพร่กระจายไปสู่เซลล์อื่นๆ ได้อีก


"ผล การทดสอบที่ได้ยังอยู่ในระดับหลอดทดลอง ซึ่งใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้สมุนไพรในการรักษาผู้ป่วยเอดส์ได้ และสามารถพัฒนาสารสกัดหยาบให้เป็นยาได้ โดยอาจต้องร่วมกับแพทย์แผนไทยเพื่อทำการวิจัยในระดับคลินิก ส่วนการพัฒนายาต้านไวรัสจากสารสกัดบริสุทธิ์นั้นยังต้องใช้เวลาศึกษาวิจัย อีกหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน รวมถึงการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองด้วย" นักวิจัยเผย ซึ่งผลงานวิจัยของ รศ.ดร.สุภิญญา เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับรางวัล 2010 TRF-CHE-SCOPUS Research Award จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


นอกจาก นั้น นักวิจัยยังศึกษาและพบว่าสารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมและการ อักเสบในหนูทดลอง ส่วนสารสกัดจากทองพันชั่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและยับยั้งสารก่อภูมิแพ้ได้ดี จากการทดสอบในเซลล์ไลน์


อย่างไรก็ตาม ทั้งกระชายและทองพันชั่งจัดเป็นสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน และมีการพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรเป็นจำนวนมาก รศ.ดร.สุภิญญา จึงแนะนำผู้บริโภคว่าควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผ่านการรับรองจากสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากสมุนบางชนิดอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกายได้หากใช้ในปริมาณ มากเกินไป

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000146299

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น