วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การเกิดคลื่น

การ เกิดคลื่น (Wave)
คลื่นเกิดจากลม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และจากการที่ลมพัดมากระทบกับผิวน้ำ จะทำให้ผิวน้ำนูนสูงขึ้นคล้ายสันเขาความสูงของคลื่นทำให้เราทราบถึงความแรง ของลม เมื่อคลื่นเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากมันรวมเอา คลื่นขนาดเล็กๆ เข้าไปไว้ด้วย

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้ากระทบฝั่งจะกระทบกับพื้นก่อนทำให้คลื่นมีความสูง มากขึ้นแนวด้านหน้าของคลื่นจะโค้งขนานไปกับชายฝั่ง เราเรียกว่าการหักเหของคลื่น เมื่อใกล้ฝั่งมากขึ้น แรงเสียดทานของพื้นทะเลจะมีมากขึ้นทำให้ผิวหน้าของคลื่นแตก เราเรียกว่า “คลื่นหัวแตก” (Breaker) เราจะสังเกตเห็นได้เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้ามากระทบฝั่ง น้ำจะแตกซ่าเป็นฟองกลายเป็นฟองคลื่นบนหาด

สำหรับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด เราเรียกว่า “ชูนามิส์“(Tsunamis) ป็นมีความยาวของคลื่นประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร แต่มีความสูงเพียง 0.3 - 0.6 เมตร เมื่อเกิดคลื่นชนิดนี้ผู้ที่อยู่บนเรือหรือชาวประมงจะไม่สามารถสังเกตเห็น ได้ ประกอบกับระยะเวลาในการเกิดคลื่นจะสั้นมาก คือ ประมาณ 10 – 30 วินาทีเท่านั้น แต่คลื่นชนิดนี้จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงถึง 500 - 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นเมื่อคลื่นชูนามิส์ เคลื่อนที่เข้าหาฝั่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลชายฝั่งสูงกว่าสภาพปกติ 15 - 30 เมตร จึงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอันมาก

ส่วนประกอบของคลื่น
คลื่นประกอบด้วยส่วนของยอดคลื่น (Crest) คือจุดสูงสุดบนคลื่น ส่วนท้องคลื่น (Trough) คือ ระยะในแนวดิ่งจากยอดคลื่นถึงท้องคลื่น และ ความสูงของคลื่น (Amplitude) คือระยะในแนวราบจากยอดคลื่น หรือจากท้องคลื่นถึงอีกท้องคลื่นหนึ่งต่อเนื่องกันสำหรับการเคลื่อนที่ ของกระแสน้ำในคลื่นมีลักษณะการเคลื่อนที่แบบวงกลม เกิดทั้งบริเวณผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ วงกลมของการเคลื่อนที่หมุนวนของกระแสน้ำจะเล็กลง เมื่อระดับความลึกเพิ่มขึ้น บริเวณน้ำตื้นท้องคลื่นจะเคลื่อนที่กระทบพื้นดิน การเคลื่อนจะมีลักษณะเป็นวงรี เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ส่วนบนของผิวน้ำของคลื่นยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ขณะที่ท้องคลื่นมีแรงเสียดทานจากพื้นผิว คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้น ม้วนตัว และถลำไปข้างหน้า เกิดการฟาดตัวกับชายฝั่ง กลายเป็นคลื่นแตกฟอง เราเรียกว่า "คลื่นหัวแตก" (Breaker หรือ Surf) คลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งบนสภาพที่มีความลาดชันน้อยเราเรียกว่า "การเข้าหาฝั่งของน้ำทะเล" (Swash) เมื่อคลื่นซัดกระทบหาดแล้วสลายตัวไปในที่สุด เราเรียกว่า "การถอยกลับของน้ำทะเล" (Backwash)
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=9785

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น