เรื่องของก๊าซ วันที่โพส 30 มี.ค. 2554 โพสโดย HoneyAngelB | ||
ชาว จีนโบราณเป็นชาติแรกที่เริ่มนำก๊าซเข้ามาใช้เมื่อหลายพันปีก่อน ที่พวกเขานำก๊าซธรรมชาติมาใช้โดยการระเหยน้ำทะเลออกเพื่อให้ได้เกลือ กระทั่งในต้น พ.ศ. 2343 ผู้สำรวจแหล่งน้ำมันในอเมริกาได้เริ่มกาแหล่งทรัพยากรอื่นๆ จนพบก๊าซธรรมชาติ และจากนั้นได้มีการวางท่อส่งก๊าซเพื่อนำก๊าซส่งไปประเทศของตน ส่วนอังกฤษนั้นเพิ่งจะเริ่มมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในปี พ.ศ. 2473
ก๊าซ ที่เรานำมาใช้หุงต้มและให้ความร้อนในทุกวันนี้คือพลังงานเชื้อเพลิงที่อยู่ ในรูปของฟอสซิลซึ่งประกอบไปด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ตามปกติแล้วเรานำก๊าซมาใช้งานในบ้านเราและทางอุตสาหกรรมโดยผ่านท่อส่งก๊าซ
ก๊าซเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก เนื่องจากมันจะให้ความร้อนเมื่อถูกเผาไหม้ จึงถูกนำมาใช้ในบ้านเรือนสำหรับการหุงต้มทำอาหารและใช้ในงานอุตสาหกรรมนานา ชนิดเพื่อเชื่อมถลุงเหล็ก
ก๊าซในประเทศที่พบส่วนใหญ่จะพบตามชั้นใต้ดิน บ่อยครั้งที่พบก๊าซธรรมชาติอยู่ปนกับถ่านหินและน้ำมัน แต่บางครั้งพบเฉพาะก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียวเช่นเดียวกับน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเกินจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์เหล่านี้ก่อให้เกิดก๊าซ ไฮโดรเจนและคาร์บอนจำนวนมากซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนรูปก๊าซไฮโดรคาร์บอนหรือที่เย กว่าก๊าซมีเทน
ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ค้นพบได้ในทะเล จึงต้องมีการวางท่อส่งก๊าซลงไปในทะเลแล้วต่อท่อมายังสถานีรับก๊าซบนภาคพื้น ดิน แต่ในบางครั้งจะทำให้ก๊าซกลายเป็นของเหลวก่อนจึงบรรทุกใส่เรือมา ในก๊าซธรรมชาติจะมีสารบางชนิดที่ไม่ต้องการปะปนมา ซึ่งสารเหล่านี้จะถูกนำมาแยกอีกครั้งที่สถานีส่งก๊าซ
ก๊าซเป็นสารที่ไม่กลิ่น ดังนั้นขณะนำก๊าซมาแยกสารที่ไม่ต้องการออกอาจเกิดการรั่วไหลของก๊าซได้โดย ไม่สามารถสังเกตเห็น ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้สารเคมีเติมกลิ่นลงไปยังก๊าซด้วย
การขุดเจาะก๊าซ
ตามปกติแล้ว เราจะพบก๊าซในชั้นใต้ดินซึ่งอยู่ลึกลงไปหลายเมตร มักพบในชั้นหิน เช่น หินทราย ชั้นหินที่มีความแข็งเหล่านั้นห่อหุ้มก๊าซเหล่านั้นห่อหุ้มก๊าซไว้ทำให้การ นำก๊าซมาใช้ต้องทำการขุดเจาะโดยบริษัทน้ำมัน
ข้อมูลน่ารู้
ก๊าซที่ถูกบรรทุกมาโดยเรือจะถูกทำให้เป็นของเหลวเสียก่อนซึ่งประหยัดเนื้อที่บรรทุกกว่าขณะที่เป็นก๊าซ
ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ รัสเซียและสหรัฐอเมริกา
ก่อน พ.ศ. 2473 ก๊าซที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจากถ่านหิน
ซากพื้ชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเคยนำมาให้เป็นพลังงานให้กับกังหันลมไฟฟ้า
credit: www.krabork.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น