วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ประเภทของสารละลายกรด

ประเภทของสารละลายกรด
     สารละลายกรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ ดังนี้
กรดอินทรีย์
     เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่ง มีชีวิต เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เกิดการเปลี่ยนสี ตัวอย่างเช่น
     1)  กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มีกรดแอซีติก 5% โดยมวลต่อปริมาตร)
     2)  กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น
     3)  กรดฟอร์มิก (Formic acid) หรือกรดมด
     4)  กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) หรือวิตามินซี
กรดอนินทรีย์
     เป็นกรดแก่ที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้ เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีม่วงเป็นสีเขียว กรดอนินทรีย์มีความสามารถกัดกร่อนสูงถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ตัวอย่างเช่น
     1)  กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ
     2)  กรดไนตริก (Nitric acid) หรือดินประสิว
     3)  กรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) หรือกรดหินปูน
     4)  กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน
อินดิเคเตอร์สำหรับกรด - เบส
     อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมีสมบัติเป็นกรดอ่อน หรือเบสอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อน
     สมบัติของอินดิเคเตอร์
     1.  อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด
     2.  อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ใหสีแตกต่างกัน
     3.  สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง
     เนื่องจากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดเปลี่ยนสีในช่วง pH จำกัดทำให้การตรวจหาค่า pH ของสารละลายไม่สะดวก จึงได้มีการนำอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่มีช่วง pH ต่อเนื่องมาผสมกันในอัตราส่วนพอเหมาะ โดยสามารถเปลี่ยนสีในช่วง pH ของสารละลายได้กว้าง เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)
      นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น น้ำคั้นจากกะหล่ำปลีสีม่วง น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ดอกกุหลาบ มาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ เรียกว่า "อินดิเคเตอร์ธรรมชาติ"
                                                    ตาราง แสดงช่วงการเปลี่ยนสีของอินเคเตอร์บางชนิด
                   
คุณรู้หรือไม่ ?     1.  ผงฟูหรือโซดาทำขนม มีชื่อเคมีว่า โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอนเนต (NaHCO3) มีสมบัติเป็นเบสเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดหรือถูกความร้อนจะสลายตัวให้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ นิยมนำมาใช้ทำขนมหรือใช้เป็นสารกำจัดกลิ่นในตู้เย็น
     2.  น้ำปูนใส มีชื่อเคมีว่า แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ได้จากการนำปูนขาวซึ่งมีชื่อเคมีว่าแคลเซียมออกไซด์ (CaO) มาละลายน้ำ และนำไปกรอง
     3.  ด่างคลี หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ใช้แช่ปลาหมึกสดเพื่อทำปลาหมึกกรอบ และใช้ทำสบู่
    
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .


http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2226

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น