วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดในโลก เเละ อวกาศ คือ พายุสุริยะ

พายุสุริยะ คืออะไร?
          สำหรับ พายุสุริยะ (Solar Wind) ที่คนเริ่มให้ความสนใจนั้นก็คือ เปลวไฟขนาดใหญ่ที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ เกิดจากการสะสมพลังงานแม่เหล็กในดวงอาทิตย์ไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีการต่อใหม่ของสนามเหล็ก จะเกิดการปะทุออกมาเป็นพลังงานความร้อน และปล่อยก้อนมวลขนาดใหญ่จากโคโรนา (Coronal Mass Ejection : CME) หรือเส้นรัศมีรอบวงกลมสีดำที่อยู่ชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ ออกมาเป็น พายุสุริยะ ได้

พายุสุริยะ เกิดบ่อยแค่ไหน?
          ตามปกติพายุสุริยะจะเกิดขึ้นบ่อยเมื่อมีจุดมืดมากในดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเกิดทุกวัน วันละหลายครั้งก็เป็นได้ แต่หากเป็นพายุสุริยะที่รุนแรงมาก จะเกิดในรอบวัฏจักรเฉลี่ยทุก ๆ 11 ปี (Solar Cycle) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นเล็กน้อยก็ได้
          ทั้งนี้ การเกิด พายุสุริยะ จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นครั้งเป็นคราว และไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ แต่สามารถคาดการณ์ได้ว่า พายุสุริยะ จะเกิดขึ้น โดยสังเกตว่า เริ่มมีจุดมืดจำนวนมากบนดวงอาทิตย์
พายุสุริยะ ส่งผลกระทบต่อโลกแค่ไหน?
          หลายคนฟังคำว่า พายุสุริยะ แล้วคงจะรู้สึกกลัวถึงอานุภาพของมัน แต่จริง ๆ แล้ว พายุสุริยะ ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ทำลายสิ่งปลูกสร้าง หรือทำให้มนุษย์บาดเจ็บล้มตายได้ แต่สิ่งที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้นก็คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กของโลก ซึ่งเป็นตัวคอยกั้นโลกจากรังสีของดวงอาทิตย์อยู่ เช่น ระบบการสื่อสารคมนาคมทางวิทยุ ระบบการบิน ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า ฯลฯ
          ทั้งนี้หากสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ได้รับผลกระทบ แน่นอนว่า ย่อมมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก เช่น เครื่องบินต้องหยุดบินชั่วคราว ดาวเทียมใช้งานไม่ได้ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเกิดปัญหา หรืออาจทำให้หม้อแปลงที่โรงปั่นไฟฟ้าเสียหายได้ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบต่าง ๆ ที่จะได้รับผลกระทบจาก พายุสุริยะ ก็สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้า เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดได้ อย่างเช่น หากมีการบินในช่วงเกิดพายุสุริยะ นักบินก็ต้องหลีกเลี่ยงการบินผ่านบริเวณขั้วโลก แต่ให้บินอ้อมไปทางอื่น ที่จะปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสีมากกว่า
          ส่วนนักบินอวกาศ หากนักบินอวกาศออกไปจากสนามแม่เหล็กโลก แล้วเกิดพายุสุริยะขึ้นในช่วงนั้น นักบินอวกาศก็ยังเสี่ยงต่อการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย เช่นเดียวกับโลก ที่เมื่อรังสีต่าง ๆ สะสมอยู่ในโลกมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ร่างกายของมนุษย์ยังจะได้รับรังสีผ่านทางน้ำ อาหาร นำไปสู่โรคชนิดใหม่ขึ้นได้

แสงออรอร่าเกิดจากอนุภาคมากับ พายุสุริยะ 

          ขณะเดียวกัน เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้น จะมีการปล่อยมวลจากโคโรนาเข้าปะทะกับสนามแม่เหล็กของโลก และบีบสนามแม่เหล็กให้เข้ามาใกล้ เกิดเป็นอนุภาคที่เรียกว่า "แถบรังสี" เมื่อสนามแม่เหล็กบีบตัวเข้ามา อนุภาคเหล่านี้จะชนกับบรรยากาศของโลก เกิดเป็นแสงเหนือแสงใต้ หรือที่เรียกว่า "ออโรรา" (Aurora) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ในประเทศแคนาดา แต่หาก พายุสุริยะ แรงมาก แสงออโรราจะส่องลงมาให้เห็นถึงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เลย

พายุสุริยะ ครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
          พายุสุริยะ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1989 เป็นพายุสุริยะระดับธรรมดา เกิดขึ้นที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดของเมืองดับนานกว่า 9 ชั่วโมง และยังส่งผลกระทบไปถึงทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และสวีเดนด้วย ดังนั้น จึงมีการทำนายกันว่า พายุสุริยะครั้งใหญ่ที่จะพุ่งเข้าสู่โลก จะเกิดอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ.2011-2014 ซึ่งเป็นช่วงครบรอบ 11 ปีของวัฏจักรพอดี แต่ยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่นอน และความรุนแรงได้

          และแม้ว่า พายุสุริยะ จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง แต่หากในอนาคต ปัญหาโลกร้อน และปฏิกิริยาเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ วัน โอกาสที่ พายุสุริยะ จะเกิดแบบถาวรและมีอานุภาพรุนแรงมากขึ้นก็เป็นไปได้มาก นั่นก็เพราะเมื่อเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก คือโลกจะหมุนรอบตัวเองช้าลง และส่งผลต่อระบบสนามแม่เหล็กที่คอยกั้นโลกจากพายุสุริยะอยู่ ซึ่งหากในอนาคตสนามแม่เหล็กของโลกอ่อนแอลง พายุสุริยะ ก็อาจมีอานุภาพเข้าถึงโลกได้มากขึ้น และมนุษย์จะได้รับผลกระทบมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มาข้อมูล : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=13387

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น