สามก๊ก
โดย พ.อ. พิชเยนทร์ ธัญญสิริ
รองเจ้ากรมการขนส่งทหารบก
นักศึกษา วปอ.รุ่นที่ ๕๐
----------------------------------------------------------
สามก๊ก จัดว่าเป็นหนังสือดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ได้ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ
มากมาย และมียอดพิมพ์มากที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ว่ากันว่า จะเป็นรองก็แต่คัมภีร์ ใบเบิลและตำราพิชัย
สงครามของ ซุนวู เท่านั้น
เรื่อง ราวในสามก๊ก ได้ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าด้านคุณธรรม การปกครอง การบริหาร การใช้คน การทูต การเมือง การทหาร โหราศาสตร์ ธรรมเนียมการปกครองแผ่นดิน และ
ตำราพิชัยสงคราม และหนังสือสามก๊กเมื่ออ่านแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการทำงานและการ
ดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
สามก๊กเป็นเรื่องราวของการใช้สติปัญญา พลิกแพลง กอปรด้วย อุบายเล่ห์กลครบครัน
ยุคสมัยของสามก๊กเป็นเรื่องจริงเกิดขนึ้ ระหว่าง คศ.๒๒๐ – ๒๘๐ ระยะเวลา ๖๐ ป แผน่ ดินจนี เกิดกลียุค
รบราฆ่าฟันกัน โดยได้แบ่งแผ่นดินจีนออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑. เล่าปี่ ได้ครองอำนาจ ทางภาคตะวันตกและพายัพ
๒.โจโฉ ได้ครองอำนาจ ทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน
๓. ซุนกวนได้ครองอำนาจทางภาค ใต้ของแม่น้ำ แยงซีเกียง
สามก๊กแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง
ช่วงแรก เป็นช่วงปลายแผ่นดินของพระเจ้าเลนเต้ ซึ่งเป็นยุคปลายของราชวงศ์ฮั่น จนถึงเหตุการณ์ที่
เล่าปี่ออกไปเชิญ ขงเบ้งที่เขา โงลังกั๋งในช่วงนี้เป็นการต่อสู้ ทางการเมืองภายในราชสำนักฮั่น และการพุ่ง
รบระหว่างบรรดาขุนศึก
ช่วงที่สอง เกิดยุทธศาสตร์ สามก๊กที่ขงเบ้งเสมอต่อเล่าปี่ทำให้แผ่นดินจีนแบ่งเป็น ๓ ส่วน
ช่วงที่สาม หลังจากขงเบ้งสิ้นบุญแล้ว ลูกหลานของเล่าปี่ โจโฉ และซุนกวน ได้สืบทอดอำนาจต่อมา
เบื้องก่อนแต่จะเกิดยุค สามก๊ก แผ่นดินจีนได้เกิดกลียุครบราฆ่าฟันกันจนแตกออกเป็น
๗ หัวเมืองทั้ง ๗ หัวเมืองนี้ บางครั้งก็ผูกมิตรกัน บางครั้งก็ทำสงครามกัน สงครามและสันติภาพเกิดขึ้น
สลับกันไป ประวัติศาสตร์จีนได้เรียกขานยุคนี้ว่าเป็น “ยุคเลียดก๊ก” รายละเอียดมีปรากฏในวรรณคดีไทย
เรื่องเลียดก๊ก ซึ่งแปลมาจากพงศาวดารเลียดก๊กของจีนนั้นแล้ว จนถึงสมัยหนึ่งแคว้นจนิ๋ มีเจ้าผ้ปู กครอง
ชื่อวา่ “จิ๋นอ๋อง” ได้รวบรวมหัวเมืองทั้ง ๗ เข้าเปน็ แผน่ ดินเดียวกนั สถาปนาราชวงศจ์ นิ๋ ขึ้นปกครอง
แผ่นดินจีนแต่นั้นมา ชื่อประเทศที่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่ง จึงถูกเรียกตามชื่อของแคว้นจิ๋นว่าเป็น “ประเทศ
จีน” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จิ๋นอ๋องเป็นผู้ใฝ่อำนาจ เห็นคำว่า “อ๋อง” ยังเป็นคำต่ำเสมอเจ้าเมืองธรรมดาไม่สมควรกับ
ความชอบที่พระองค์สามารถรวบรวมแคว้นทั้งปวงเข้าเป็นแผ่นดินเดียวกันได้ จึงทำให้ขุนนางทั้งปวงคิด
สรรหาสมญานามให้สมกับความชอบของพระองค์
เป็นธรรมเนียมของขุนนางทุกยุคทุกสมัยที่มักประจบผู้มีอำนาจ บรรดาขุนนางในยุคนั้นจึง
ได้คิดค้นสมญานามสาํ หรบั จนิ๋ อ๋องวา่ “ฮ่องเต้” ซึ่งหมายถงึ ความเปน็ ใหญใ่ น ๕ ทวีป หรือความยิ่งใหญ่
เหนือแผน่ ดิน ภูเขา แมน่ ํ้า ความดีและความช่วั ซึ่งสมญานามน้เี ปน็ ที่ต้องพระทยั ยิ่งนัก ดังน้ันจนิ๋ อ๋องจงึ
ได้เฉลิมพระนามาภิไธยของพระองค์ว่า “จิ๋นซีฮ่องเต้”
ความใฝ่ในอำนาจกับความคิดที่จะเป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นแรงวิริยานุภาพ ภายในตัว
ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ประกอบกับเป็นคนรู้จักใช้คน ดังนั้นคนดีมีฝีมือในแผ่นดินจำนวนมากจึงอาสาเข้ามารับ
ใช้ชาติ แผ่นดินจีนยุคนั้นจึงยิ่งใหญ่เกรียงไกร แต่กระนั้นความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถยับยั้งความ
เอาไว้ได้ เมื่ออายุล่วงวัยมากเข้า จิ๋นซีฮ่องแต้ก็เกิดความคิดกลัวตายแต่ไม่อยากตาย ดังนั้นจึงได้พยายาม
แสวงหายาอายุวัฒนะ เมื่อความอยากเกิดขึ้น ความโง่ก็ได้เข้าครอบงำ พวกแพทย์หลวงและแพทย์
พื้นบ้านตลอดจนนักพรต ต่างได้อาสาทำยาอายุวัฒนะ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ความแก่ยังคงเข้าครอบงำ
จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกว่า วันเวลาแห่งความตายได้เยื้องกรายเข้ามา
เยือนพระองค์ใกล้เข้ามาทุกที ในที่สุดทรงตั้งรางวัลเป็นจำนวนมหาศาลให้แก่ใครก็ตามที่สามารถ
แสวงหายาอายุวัฒนะมาถวายได้ รางวัลจำนวนมหาศาลย่อมจูงใจคน ย่อมสามารถทำให้คนแกล่งกล้าไม่
กลัวผี ไม่กลัวฟ้า ไม่กลัวดิน ไม่กลัวบาป และไม่กลัวตาย ดังนั้น จึงมีพวกหมอกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ขืนอยู่
ไปก็อาจเสี่ยงภัยต่อการถูกประหาร จึงอาสาเดินทางทางเรือไปทางด้านตะวันออกเพื่อแสวงหายา
อายุวัฒนะหลังจากเดินทางไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย กล่าวกันว่าคณะเดินทาง แสวงหายาอายุวัฒนะกลุ่ม
นี้คือ กลุ่มบรรพบุรุษกลุ่มแรกของชนชาติญี่ปุ่น เหตุที่ไม่ยอมรับว่าความตายจะมาถึง จิ๋นซีฮ่องเต้จึงไม่ได้
เตรียมการใด ๆ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์หลังการตายของพระองค์ ดังนั้นเมื่อความตายมาถึง กลียุคจึง
เกิดขึ้นในบ้านเมือง หลี่ซือขุนนางผู้มีความชอบต่อแผ่นดินและดำรงตำแหน่ง อัครมหาเสนาบดี ถูก
ขันทีใช้อำนาจของ ยุวกษัตริย์ ประหารอย่างโหดร้าย นอกจากนั้น ขุนนางผู้ภักดีต่อแผ่นดินก็ถูกบีบคั้น
และสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ ในที่สุดยุวกษัตริย์ ผู้เป็นรัชทายาทของจิ๋นซีฮ่องเต้ก็ถูกขันทีสังหาร
แผ่นดินอันยิ่งใหญ่ก็ไม่สามารถรักษาไว้ได้ แม้เลือดเนื้อเชื้อไขก็ต้องถูกสังหารอย่าง
โหดร้าย นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งขอความประมาท ที่อย่าว่าแต่ปุถุชน คนธรรมดาสามัญเลย ต่อให้เป็น
ฮ่องเต้มีอำนาจวาสนา ทรัพย์สิ่งศฤงคารสักเพียงไหน หากตกอยู่ในความประมาทแล้ว ทุกสิ่งก็จะสูญสิ้น
ไปการรบราฆ่าฟันเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การจลาจลขยายตัวลุกลามไปทั้งแผ่นดิน กลายเป็นสงคราม
กลางเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
สมัยนั้นมีผู้ตั้งตนเป็นผู้กู้ชาติหลายกลุ่ม หลายเหล่า แต่หลังจากสงครามผ่านไปนานวันเข้า
บางกลุ่มก็สูญสลายไป บางกลุ่มก็ไปร่วมกับอีกกลุ่มหนึ่งในที่สุดเหลืออยู่ เพียงสองกลุ่ม คือ
กลุ่มแรกนำโดย ฌ้อปาอ๋อง กลุ่มที่สองนำโดย เล่าปัง หรือที่เรียกว่าฮั่นอ๋อง ทั้งสองกลุ่ม
นี้ทำสงครามแย่งชิงเมืองหลวงกันเป็นเวลายาวนาน เปิดสงครามต่อกันถึง ๗ ครั้ง และทั้ง ๗ ครั้งนี้ ฮั่น
อ๋องหรือ เล่าปัง เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เนื่องด้วย เล่าปังเป็นคนมีความเพียรพยายาม มีจิตใจต่อสู้และทรหด
อดทน ทั้งพยามยามแสวงหาคนดีมีฝีมือมาร่วมงาน ในที่สุดเล่าปังก็ได้ขุนนางสองคนมาทำการด้วย นั่น
คือ “ฮั่นสิน” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทางการทหาร กับ “เตียวเหลียง” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทาง
พิชัยสงครามและการปกครอง ในสงครามครั้งสุดท้าย ฮั่นอ๋องเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดย ฌ้อปาอ๋อง
แตกทัพไปติดอยู่ริมน้ำ และฆ่าตัวตายในที่สุด ก่อนพ่ายแพ้ ฌ้อปาอ๋องได้เผาเมืองหลวงที่ใหญ่โตอัคร
ฐานจนหมดสิ้น กล่าวกันว่าเพลิงไหม้พระบรมมหาราชวังติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ฮั่งอ๋องหรือเล่า
ปังได้รับชัยชนะแล้ว จึงได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้น เหล่าขุนนางได้ถวายพระสมัญญาแก่พระองค์ท่านว่า
“พระเจ้าฮั่นโกโจ” จัดเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น สงครามและสันติภาพเกิดขนึ้ สลับกนั ไปเชน่ นี้
เจ้าพระยาคลัง (หน) จึงกล่าวไว้ในสามก๊กด้วยโวหารว่า “ เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้น
เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข พระเจ้าฮั่นโกโจ และพระราชวงศ์ ได้
ครองราชย์สมบัติต่อ ๆ มาถึง 12 องค์ จากนั้นขุนนางชื่อ “อองมัง” จึงชิงราชสมบัติตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าครอง
แผ่นดิน อยู่ถึง 18 ปี ก็มีเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าฮั่นโกโจ ชื่อ “ฮั่นกองบู๊” ชิงราชสมบัติกลับคืนได้
เสวยราชย์สืบเชื้อพระวงศ์ต่อมาอีก 12 องค์ จึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น ฮ่องเต้องค์ที่ 3 ก่อนสิ้น
ราชวงศ์ฮั่น ทรงพระนามว่า “ฮั่นเต้” คงจะเป็นหมันจึงไม่มีพระราชบุตรสืบสันตติวงศ์ แต่แทนที่จะยก
เอาเชื้อพระวงศ ผู้มีสติปัญญา คนหนึ่ง คนใด ขนึ้ เป็นมหาอุปราช เพ่อื เตรียมสบื ราชวงศต์ ่อไปกลบั ไป
ขอลูกชาวบ้านมาเลี้ยง ตั้งเป็นพระราชบุตร แล้วโปรดให้ขันทีเลี้ยงดูมาแต่น้อย ต่อมาทรงสถาปนาเป็นที่
รัชทายาท ดังนั้น เลนเต้จึงไม่ใช่เชื้อพระราชวงศ์ฮั่น เป็นลูกกาฝาก หากจะกล่าวถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมกล่าว
ได้ว่า ราชวงศ์ฮั่นได้หมดสิ้นไปตั้งแต่ยุคสมัย ของพระเจ้าฮั่นเต้แล้ว ราชบัลลังก์หลังจากนั้นตกได้แก่คน
แซ่อื่น การกระทำผิดธรรมเนียมในการปกครองแผ่นดินของฮั่นเต้ คือเหตุสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นดับ
สูญ และราชบัลลังก์ตกเป็นสิทธิแก่คนอื่น นี่คือทัณฑ์จากสวรรค์ของการที่ทำผิดธรรมเนียมประเพณี ถ้า
จะกล่าวโดยสำนวนไทยก็กล่าวได้ว่า เป็นความผิดของ “คนที่เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม ”
เลนเต้ ลูกชาวบ้าน เมื่อได้ดิบได้ดี เป็นรัชทายาท ก็ถือตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นไปด้วย
ครั้นได้เสวยราชย์ทรงพระนามว่า “พระเจ้าเลนเต้” แต่สันดานชาติเชื้อที่ไม่ใช่เผ่าวงศ์
กษัตริย์ และอัธยาศัยที่ถูกสร้างสมมาจากการเลี้ยงดูของขันที ยังคงติดตัวมาจึงกำเริบขนึ้ สามกก๊ ไดก้ ล่าว
ความประพฤติของพระเจ้าเลนเต้ว่า “ มิได้ตั้งอยู่ในโบราณราชประเพณี แลมิได้คบหาคนสัตย์ธรรม เชื่อ
ถือแต่คนอันเป็นอาสัตย์ ประพฤติแต่ตามอำเภอใจแห่งพระองค์ เสียราชประเพณีไป เมื่อเลนเต้เสวย
ราชย์แล้ว ได้อาศัยขุนนางผู้ใหญ่สองคน คอยค้ำจุนราชบัลลังก์ คนหนึ่งชื่อ เตาบู เป็นแม่ทัพใหญ่ อีกคน
หนึ่งชื่อตันผวน เป็นราชครู สองขุนนางเฒ่า รับราชการในราชวงศ์ฮั่น มาถึงสองแผ่นดิน เห็นความ
วิปริตผันแปร ในบ้านเมืองที่ทำให้ขุนนางข้าราชการแลราษฎร ต้องเดือดร้อนหนักว่า เกิดจากขันทีเป็น
เหตุ จึงวางแผนร่วมกันเพื่อจะสังหารกลุ่มขันทีชั่วเสีย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อน ดังนั้นทั้งแม่ทัพใหญ่
เตาบู และราชครูตันผวนพร้อมด้วยครอบครัวและบริวารจึงกลับเป็นฝ่ายถูกกลุ่มขันทีชั่วสังหารอย่าง
โหดร้ายและทารุณ แต่นั้นมากลุ่มขันทียิ่งกำเริบเสิบสานมากขึ้น เหล่าขุนนางข้าราชการมีความเกรงกลัว
อิทธิพลของกลุ่มขันทีชั่วเป็นอันมาก
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเห็นว่า กลุ่มชนชั้นสูงเป็นผู้ปกครอง บริหารประเทศ และผู้
ที่แสวงหาอำนาจ ก็ไม่ต่างอะไรไปจาก ประวัติศาสตร์ สามก๊ก
ถ้ากลุ่มการเมืองเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ อำนาจให้กับ กลุ่มของตนเอง และพรรคพวกของตน ก็
จะมีการต่อต้าน ต่อสู้ กันไม่มีวันสิ้นสุด สุดท้าย กลุ่มการเมืองนั้นก็จะล้มลงเพราะผลประโยชน์ของตนเอง
แต่ถ้ากลุ่มการเมืองใดเข้ามาบริหารประเทศโดยเห็นแก่บ้านเมืองอย่างแท้จริงแล้วโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์
ของพวกพ้อง กลุ่มการเมือง นั้น ก็จะสามารถยืนหยัดนำพาประเทศให้ไปสู่ความเจริญในทุกด้านได้อย่าง
แน่นอน
สุดยอดกลอุบายในหนังสือเรื่องสามก๊ก และแง่คิดเชิงบทเรียน มีดังนี้
- สุดยอดของอุบายในการทหาร คือ การหนี
- สุดยอดอุบายในทางการเมือง คือ ใช้คู่แข่งทำลายคแู่ ข่ง
- สุดยอดวิชาขันที ๕ วิชา คือ ๑. วิชา พินอบพิเทา
๒. วิชา สร้างความแตกแยก
๓. วิชา ใช้วาจาเป็นอาวุธ
๔. วิชา การรับสินบน
๕. วิชา การติดสินบน ซื้อน้ำใจคน
แง่คิดเชิงบทเรียนในหนังสือสามก๊ก
- สิ่งที่ประเสริฐที่สุดในการสงคราม คือ ชัยชนะที่ได้มาโดยไม่ต้องรบ นั่นก็คือ การใช้หลักการฑูต
สรุป ผลที่ได้รับจากการศึกษาหนังสือเรื่องสามก๊ก
หนังสือสามก๊ก เป็นหนังสือที่ไม่ล้าสมัยแม้จะล่วงเลยสมัยมานานแล้วก็ตาม ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์
เปรียบเทียบหลักการบริหารราชการแผ่นดินของชนชั้นปกครอง คือ กษัตริย์ หรือฮ่องเต้ และชนชั้นผู้ถูกปกครอง
หรือราษฎร ให้เรื่องแนวความคิด พฤติกรรมของมนุษย์ ความรักชาติ ผลประโยชย์ และจะเน้นเรื่องการแก้ไข
ปัญหาด้านยุทธวิธี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ได้ศึกษาหนังสือสามก๊ก
อย่างละเอียด จะได้ประโยชน์อย่างมาก เช่น จะแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
ตัวอย่างข้อคิดของหนังสือสามก๊ก
ทุกคราที่เกิดวิกฤติ ย่อมมีทั้งวีรชน ผู้กอบกู้ และทรชนผู้ทำลาย มีคนที่ยอมเสียสละเพื่อชาติ และมี
คนเล่นเล่ห์เพทุบายเพื่อขายชาติ ให้เกิดประโยชน์ตกแก่พวกพ้องกลุ่มคนตน
สุดยอดอุบายในทางการเมือง คือ “ ใช้คู่แข่งทำลายคู่แข่ง ”
ที่มา: วปอ.
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=marketinfo&date=21-03-2009&group=4&gblog=40
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น