วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

สามก๊ก สรุป โดย พ.อ. พิชเยนทร์ ธัญญสิริ

สามก๊ก สรุป โดย พ.อ. พิชเยนทร์ ธัญญสิริ นักศึกษา วปอ.รุ่นที่ ๕๐




สามก๊ก



โดย พ.อ. พิชเยนทร์ ธัญญสิริ

รองเจ้ากรมการขนส่งทหารบก

นักศึกษา วปอ.รุ่นที่ ๕๐

----------------------------------------------------------

สามก๊ก จัดว่าเป็นหนังสือดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ได้ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ
มากมาย และมียอดพิมพ์มากที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ว่ากันว่า จะเป็นรองก็แต่คัมภีร์ ใบเบิลและตำราพิชัย
สงครามของ ซุนวู เท่านั้น
เรื่อง ราวในสามก๊ก ได้ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าด้านคุณธรรม การปกครอง การบริหาร การใช้คน การทูต การเมือง การทหาร โหราศาสตร์ ธรรมเนียมการปกครองแผ่นดิน และ
ตำราพิชัยสงคราม และหนังสือสามก๊กเมื่ออ่านแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการทำงานและการ
ดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
สามก๊กเป็นเรื่องราวของการใช้สติปัญญา พลิกแพลง กอปรด้วย อุบายเล่ห์กลครบครัน
ยุคสมัยของสามก๊กเป็นเรื่องจริงเกิดขนึ้ ระหว่าง คศ.๒๒๐ – ๒๘๐ ระยะเวลา ๖๐ ป  แผน่ ดินจนี เกิดกลียุค
รบราฆ่าฟันกัน โดยได้แบ่งแผ่นดินจีนออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑. เล่าปี่ ได้ครองอำนาจ ทางภาคตะวันตกและพายัพ
๒.โจโฉ ได้ครองอำนาจ ทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน
๓. ซุนกวนได้ครองอำนาจทางภาค ใต้ของแม่น้ำ แยงซีเกียง
สามก๊กแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง
ช่วงแรก เป็นช่วงปลายแผ่นดินของพระเจ้าเลนเต้ ซึ่งเป็นยุคปลายของราชวงศ์ฮั่น จนถึงเหตุการณ์ที่
เล่าปี่ออกไปเชิญ ขงเบ้งที่เขา โงลังกั๋งในช่วงนี้เป็นการต่อสู้ ทางการเมืองภายในราชสำนักฮั่น และการพุ่ง
รบระหว่างบรรดาขุนศึก
ช่วงที่สอง เกิดยุทธศาสตร์ สามก๊กที่ขงเบ้งเสมอต่อเล่าปี่ทำให้แผ่นดินจีนแบ่งเป็น ๓ ส่วน
ช่วงที่สาม หลังจากขงเบ้งสิ้นบุญแล้ว ลูกหลานของเล่าปี่ โจโฉ และซุนกวน ได้สืบทอดอำนาจต่อมา
เบื้องก่อนแต่จะเกิดยุค สามก๊ก แผ่นดินจีนได้เกิดกลียุครบราฆ่าฟันกันจนแตกออกเป็น
๗ หัวเมืองทั้ง ๗ หัวเมืองนี้ บางครั้งก็ผูกมิตรกัน บางครั้งก็ทำสงครามกัน สงครามและสันติภาพเกิดขึ้น
สลับกันไป ประวัติศาสตร์จีนได้เรียกขานยุคนี้ว่าเป็น “ยุคเลียดก๊ก” รายละเอียดมีปรากฏในวรรณคดีไทย
เรื่องเลียดก๊ก ซึ่งแปลมาจากพงศาวดารเลียดก๊กของจีนนั้นแล้ว จนถึงสมัยหนึ่งแคว้นจนิ๋ มีเจ้าผ้ปู กครอง
ชื่อวา่ “จิ๋นอ๋อง” ได้รวบรวมหัวเมืองทั้ง ๗ เข้าเปน็ แผน่ ดินเดียวกนั สถาปนาราชวงศจ์ นิ๋ ขึ้นปกครอง
แผ่นดินจีนแต่นั้นมา ชื่อประเทศที่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่ง จึงถูกเรียกตามชื่อของแคว้นจิ๋นว่าเป็น “ประเทศ
จีน” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จิ๋นอ๋องเป็นผู้ใฝ่อำนาจ เห็นคำว่า “อ๋อง” ยังเป็นคำต่ำเสมอเจ้าเมืองธรรมดาไม่สมควรกับ
ความชอบที่พระองค์สามารถรวบรวมแคว้นทั้งปวงเข้าเป็นแผ่นดินเดียวกันได้ จึงทำให้ขุนนางทั้งปวงคิด
สรรหาสมญานามให้สมกับความชอบของพระองค์
เป็นธรรมเนียมของขุนนางทุกยุคทุกสมัยที่มักประจบผู้มีอำนาจ บรรดาขุนนางในยุคนั้นจึง
ได้คิดค้นสมญานามสาํ หรบั จนิ๋ อ๋องวา่ “ฮ่องเต้” ซึ่งหมายถงึ ความเปน็ ใหญใ่ น ๕ ทวีป หรือความยิ่งใหญ่
เหนือแผน่ ดิน ภูเขา แมน่ ํ้า ความดีและความช่วั ซึ่งสมญานามน้เี ปน็ ที่ต้องพระทยั ยิ่งนัก ดังน้ันจนิ๋ อ๋องจงึ
ได้เฉลิมพระนามาภิไธยของพระองค์ว่า “จิ๋นซีฮ่องเต้”
ความใฝ่ในอำนาจกับความคิดที่จะเป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นแรงวิริยานุภาพ ภายในตัว
ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ประกอบกับเป็นคนรู้จักใช้คน ดังนั้นคนดีมีฝีมือในแผ่นดินจำนวนมากจึงอาสาเข้ามารับ
ใช้ชาติ แผ่นดินจีนยุคนั้นจึงยิ่งใหญ่เกรียงไกร แต่กระนั้นความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถยับยั้งความ
เอาไว้ได้ เมื่ออายุล่วงวัยมากเข้า จิ๋นซีฮ่องแต้ก็เกิดความคิดกลัวตายแต่ไม่อยากตาย ดังนั้นจึงได้พยายาม
แสวงหายาอายุวัฒนะ เมื่อความอยากเกิดขึ้น ความโง่ก็ได้เข้าครอบงำ พวกแพทย์หลวงและแพทย์
พื้นบ้านตลอดจนนักพรต ต่างได้อาสาทำยาอายุวัฒนะ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ความแก่ยังคงเข้าครอบงำ
จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกว่า วันเวลาแห่งความตายได้เยื้องกรายเข้ามา
เยือนพระองค์ใกล้เข้ามาทุกที ในที่สุดทรงตั้งรางวัลเป็นจำนวนมหาศาลให้แก่ใครก็ตามที่สามารถ
แสวงหายาอายุวัฒนะมาถวายได้ รางวัลจำนวนมหาศาลย่อมจูงใจคน ย่อมสามารถทำให้คนแกล่งกล้าไม่
กลัวผี ไม่กลัวฟ้า ไม่กลัวดิน ไม่กลัวบาป และไม่กลัวตาย ดังนั้น จึงมีพวกหมอกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ขืนอยู่
ไปก็อาจเสี่ยงภัยต่อการถูกประหาร จึงอาสาเดินทางทางเรือไปทางด้านตะวันออกเพื่อแสวงหายา
อายุวัฒนะหลังจากเดินทางไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย กล่าวกันว่าคณะเดินทาง แสวงหายาอายุวัฒนะกลุ่ม
นี้คือ กลุ่มบรรพบุรุษกลุ่มแรกของชนชาติญี่ปุ่น เหตุที่ไม่ยอมรับว่าความตายจะมาถึง จิ๋นซีฮ่องเต้จึงไม่ได้
เตรียมการใด ๆ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์หลังการตายของพระองค์ ดังนั้นเมื่อความตายมาถึง กลียุคจึง
เกิดขึ้นในบ้านเมือง หลี่ซือขุนนางผู้มีความชอบต่อแผ่นดินและดำรงตำแหน่ง อัครมหาเสนาบดี ถูก
ขันทีใช้อำนาจของ ยุวกษัตริย์ ประหารอย่างโหดร้าย นอกจากนั้น ขุนนางผู้ภักดีต่อแผ่นดินก็ถูกบีบคั้น
และสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ ในที่สุดยุวกษัตริย์ ผู้เป็นรัชทายาทของจิ๋นซีฮ่องเต้ก็ถูกขันทีสังหาร
แผ่นดินอันยิ่งใหญ่ก็ไม่สามารถรักษาไว้ได้ แม้เลือดเนื้อเชื้อไขก็ต้องถูกสังหารอย่าง
โหดร้าย นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งขอความประมาท ที่อย่าว่าแต่ปุถุชน คนธรรมดาสามัญเลย ต่อให้เป็น
ฮ่องเต้มีอำนาจวาสนา ทรัพย์สิ่งศฤงคารสักเพียงไหน หากตกอยู่ในความประมาทแล้ว ทุกสิ่งก็จะสูญสิ้น
ไปการรบราฆ่าฟันเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การจลาจลขยายตัวลุกลามไปทั้งแผ่นดิน กลายเป็นสงคราม
กลางเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
สมัยนั้นมีผู้ตั้งตนเป็นผู้กู้ชาติหลายกลุ่ม หลายเหล่า แต่หลังจากสงครามผ่านไปนานวันเข้า
บางกลุ่มก็สูญสลายไป บางกลุ่มก็ไปร่วมกับอีกกลุ่มหนึ่งในที่สุดเหลืออยู่ เพียงสองกลุ่ม คือ
กลุ่มแรกนำโดย ฌ้อปาอ๋อง กลุ่มที่สองนำโดย เล่าปัง หรือที่เรียกว่าฮั่นอ๋อง ทั้งสองกลุ่ม
นี้ทำสงครามแย่งชิงเมืองหลวงกันเป็นเวลายาวนาน เปิดสงครามต่อกันถึง ๗ ครั้ง และทั้ง ๗ ครั้งนี้ ฮั่น
อ๋องหรือ เล่าปัง เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เนื่องด้วย เล่าปังเป็นคนมีความเพียรพยายาม มีจิตใจต่อสู้และทรหด
อดทน ทั้งพยามยามแสวงหาคนดีมีฝีมือมาร่วมงาน ในที่สุดเล่าปังก็ได้ขุนนางสองคนมาทำการด้วย นั่น
คือ “ฮั่นสิน” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทางการทหาร กับ “เตียวเหลียง” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทาง
พิชัยสงครามและการปกครอง ในสงครามครั้งสุดท้าย ฮั่นอ๋องเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดย ฌ้อปาอ๋อง
แตกทัพไปติดอยู่ริมน้ำ และฆ่าตัวตายในที่สุด ก่อนพ่ายแพ้ ฌ้อปาอ๋องได้เผาเมืองหลวงที่ใหญ่โตอัคร
ฐานจนหมดสิ้น กล่าวกันว่าเพลิงไหม้พระบรมมหาราชวังติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ฮั่งอ๋องหรือเล่า
ปังได้รับชัยชนะแล้ว จึงได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้น เหล่าขุนนางได้ถวายพระสมัญญาแก่พระองค์ท่านว่า
“พระเจ้าฮั่นโกโจ” จัดเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น สงครามและสันติภาพเกิดขนึ้ สลับกนั ไปเชน่ นี้
เจ้าพระยาคลัง (หน) จึงกล่าวไว้ในสามก๊กด้วยโวหารว่า “ เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้น
เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข พระเจ้าฮั่นโกโจ และพระราชวงศ์ ได้
ครองราชย์สมบัติต่อ ๆ มาถึง 12 องค์ จากนั้นขุนนางชื่อ “อองมัง” จึงชิงราชสมบัติตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าครอง
แผ่นดิน อยู่ถึง 18 ปี ก็มีเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าฮั่นโกโจ ชื่อ “ฮั่นกองบู๊” ชิงราชสมบัติกลับคืนได้
เสวยราชย์สืบเชื้อพระวงศ์ต่อมาอีก 12 องค์ จึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น ฮ่องเต้องค์ที่ 3 ก่อนสิ้น
ราชวงศ์ฮั่น ทรงพระนามว่า “ฮั่นเต้” คงจะเป็นหมันจึงไม่มีพระราชบุตรสืบสันตติวงศ์ แต่แทนที่จะยก
เอาเชื้อพระวงศ  ผู้มีสติปัญญา คนหนึ่ง คนใด ขนึ้ เป็นมหาอุปราช เพ่อื เตรียมสบื ราชวงศต์ ่อไปกลบั ไป
ขอลูกชาวบ้านมาเลี้ยง ตั้งเป็นพระราชบุตร แล้วโปรดให้ขันทีเลี้ยงดูมาแต่น้อย ต่อมาทรงสถาปนาเป็นที่
รัชทายาท ดังนั้น เลนเต้จึงไม่ใช่เชื้อพระราชวงศ์ฮั่น เป็นลูกกาฝาก หากจะกล่าวถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมกล่าว
ได้ว่า ราชวงศ์ฮั่นได้หมดสิ้นไปตั้งแต่ยุคสมัย ของพระเจ้าฮั่นเต้แล้ว ราชบัลลังก์หลังจากนั้นตกได้แก่คน
แซ่อื่น การกระทำผิดธรรมเนียมในการปกครองแผ่นดินของฮั่นเต้ คือเหตุสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นดับ
สูญ และราชบัลลังก์ตกเป็นสิทธิแก่คนอื่น นี่คือทัณฑ์จากสวรรค์ของการที่ทำผิดธรรมเนียมประเพณี ถ้า
จะกล่าวโดยสำนวนไทยก็กล่าวได้ว่า เป็นความผิดของ “คนที่เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม ”
เลนเต้ ลูกชาวบ้าน เมื่อได้ดิบได้ดี เป็นรัชทายาท ก็ถือตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นไปด้วย
ครั้นได้เสวยราชย์ทรงพระนามว่า “พระเจ้าเลนเต้” แต่สันดานชาติเชื้อที่ไม่ใช่เผ่าวงศ์
กษัตริย์ และอัธยาศัยที่ถูกสร้างสมมาจากการเลี้ยงดูของขันที ยังคงติดตัวมาจึงกำเริบขนึ้ สามกก๊ ไดก้ ล่าว
ความประพฤติของพระเจ้าเลนเต้ว่า “ มิได้ตั้งอยู่ในโบราณราชประเพณี แลมิได้คบหาคนสัตย์ธรรม เชื่อ
ถือแต่คนอันเป็นอาสัตย์ ประพฤติแต่ตามอำเภอใจแห่งพระองค์ เสียราชประเพณีไป เมื่อเลนเต้เสวย
ราชย์แล้ว ได้อาศัยขุนนางผู้ใหญ่สองคน คอยค้ำจุนราชบัลลังก์ คนหนึ่งชื่อ เตาบู เป็นแม่ทัพใหญ่ อีกคน
หนึ่งชื่อตันผวน เป็นราชครู สองขุนนางเฒ่า รับราชการในราชวงศ์ฮั่น มาถึงสองแผ่นดิน เห็นความ
วิปริตผันแปร ในบ้านเมืองที่ทำให้ขุนนางข้าราชการแลราษฎร ต้องเดือดร้อนหนักว่า เกิดจากขันทีเป็น
เหตุ จึงวางแผนร่วมกันเพื่อจะสังหารกลุ่มขันทีชั่วเสีย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อน ดังนั้นทั้งแม่ทัพใหญ่
เตาบู และราชครูตันผวนพร้อมด้วยครอบครัวและบริวารจึงกลับเป็นฝ่ายถูกกลุ่มขันทีชั่วสังหารอย่าง
โหดร้ายและทารุณ แต่นั้นมากลุ่มขันทียิ่งกำเริบเสิบสานมากขึ้น เหล่าขุนนางข้าราชการมีความเกรงกลัว
อิทธิพลของกลุ่มขันทีชั่วเป็นอันมาก
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเห็นว่า กลุ่มชนชั้นสูงเป็นผู้ปกครอง บริหารประเทศ และผู้
ที่แสวงหาอำนาจ ก็ไม่ต่างอะไรไปจาก ประวัติศาสตร์ สามก๊ก
ถ้ากลุ่มการเมืองเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ อำนาจให้กับ กลุ่มของตนเอง และพรรคพวกของตน ก็
จะมีการต่อต้าน ต่อสู้ กันไม่มีวันสิ้นสุด สุดท้าย กลุ่มการเมืองนั้นก็จะล้มลงเพราะผลประโยชน์ของตนเอง
แต่ถ้ากลุ่มการเมืองใดเข้ามาบริหารประเทศโดยเห็นแก่บ้านเมืองอย่างแท้จริงแล้วโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์
ของพวกพ้อง กลุ่มการเมือง นั้น ก็จะสามารถยืนหยัดนำพาประเทศให้ไปสู่ความเจริญในทุกด้านได้อย่าง
แน่นอน


สุดยอดกลอุบายในหนังสือเรื่องสามก๊ก และแง่คิดเชิงบทเรียน มีดังนี้

- สุดยอดของอุบายในการทหาร คือ การหนี
- สุดยอดอุบายในทางการเมือง คือ ใช้คู่แข่งทำลายคแู่ ข่ง
- สุดยอดวิชาขันที ๕ วิชา คือ ๑. วิชา พินอบพิเทา
๒. วิชา สร้างความแตกแยก
๓. วิชา ใช้วาจาเป็นอาวุธ
๔. วิชา การรับสินบน
๕. วิชา การติดสินบน ซื้อน้ำใจคน


แง่คิดเชิงบทเรียนในหนังสือสามก๊ก

- สิ่งที่ประเสริฐที่สุดในการสงคราม คือ ชัยชนะที่ได้มาโดยไม่ต้องรบ นั่นก็คือ การใช้หลักการฑูต
สรุป ผลที่ได้รับจากการศึกษาหนังสือเรื่องสามก๊ก
หนังสือสามก๊ก เป็นหนังสือที่ไม่ล้าสมัยแม้จะล่วงเลยสมัยมานานแล้วก็ตาม ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์
เปรียบเทียบหลักการบริหารราชการแผ่นดินของชนชั้นปกครอง คือ กษัตริย์ หรือฮ่องเต้ และชนชั้นผู้ถูกปกครอง
หรือราษฎร ให้เรื่องแนวความคิด พฤติกรรมของมนุษย์ ความรักชาติ ผลประโยชย์ และจะเน้นเรื่องการแก้ไข
ปัญหาด้านยุทธวิธี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ได้ศึกษาหนังสือสามก๊ก
อย่างละเอียด จะได้ประโยชน์อย่างมาก เช่น จะแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
ตัวอย่างข้อคิดของหนังสือสามก๊ก
ทุกคราที่เกิดวิกฤติ ย่อมมีทั้งวีรชน ผู้กอบกู้ และทรชนผู้ทำลาย มีคนที่ยอมเสียสละเพื่อชาติ และมี
คนเล่นเล่ห์เพทุบายเพื่อขายชาติ ให้เกิดประโยชน์ตกแก่พวกพ้องกลุ่มคนตน
สุดยอดอุบายในทางการเมือง คือ “ ใช้คู่แข่งทำลายคู่แข่ง ”


ที่มา: วปอ.
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=marketinfo&date=21-03-2009&group=4&gblog=40

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

สารละลาย

สารละลาย
     นอกจากธาตุและสารประกอบแล้ว สารต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรานั้นอาจจะเกิดจากการผสมของธาตุกับธาตุ เช่น นากเกิดจากการผสมของสารประกอบกับสารประกอบ เช่น น้ำเชื่อมเกิดจากการผสมของน้ำกับน้ำตาล เราเรียกสารที่เกิดจากการผสมเหล่านี้ว่า สารละลาย
     สารละลาย (Solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกัน โดยอัตราส่วนของการผสมไม่คงที่ และสารที่เกิดขึ้นจากการผสมนี้จะแสดงสมบัติที่ต่างไปจากสารเดิม
สถานะและองค์ประกอบของสารละลาย
     สารละลายทุกประเภทต้องมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ตัวละลาย (Soulute) และตัวทำละลาย (Solvent) ซึ่งอาจจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สก็ได้ ในชีวิตประจำวันเราสามารถพบสารละลายได้ทั้ง 3 สถานะ
                                                  ตาราง ตัวอย่างสารละลายในสถานะต่าง ๆ            
     ในการพิจารณาว่าสารละลายนั้น ๆ มีสารใดเป็นตัวทำละลายและตัวละลาย มีหลักในการพิจารณา ดังนี้
     1)  ถ้าทั้งตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะเดียวกับสารละลาย สารที่มีปริมาณมากที่สุด จะเป็นตัวทำละลายสำหรับตัวละลายจะเป็นสารที่มีปริมาณน้อยกว่า เช่น สารละลายแอลกอฮอล์ 70% ซึ่งเป็นสารละลายที่มีแอลกอฮอล์ 70 ส่วน ผสมอยู่กับน้ำ 30 ส่วน แสดงว่าแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย ส่วนน้ำเป็นตัวละลาย
     2)  ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายมีสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลายเป็นตัวทำละลาย สำหรับสารที่มีสถานะแตกต่างจากสารละลายจะเป็นตัวละลาย เช่น น้ำเชื่อม ซึ่งเป็นสารละลายที่เกิดจากน้ำตาลทรายละลายในน้ำ โดยที่น้ำเชื่อมที่มีสถานะเป็นของเหลว ดังนั้น น้ำตาลจึงเป็นตัวละลายและน้ำเป็นตัวทำละลาย
คุณรู้หรือไม่ ?
     ความสามารถในการละลายของตัวละลายในตัวทำละลายใด ๆ มีเกณฑ์ดังนี้
     ละลายได้ดี : ตัวละลายละลายได้มากกว่า  1 กรัม ในตัวทำละลาย 100 กรัม
     ละลายได้เล็กน้อย : ตัวละลายละลายได้ 0.1-1 กรัม ในตัวทำละลาย 100 กรัม
     ไม่ละลาย : ตัวละลายได้น้อยกว่า 0.1 กรัม ในตัวทำละลาย 100 กรัม หรือไม่ละลายเลย
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .


http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2215

ชนิดของตัวทำละลาย

ชนิดของตัวทำละลาย
     ตัวทำละลาย แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
     ตัวทำละลายที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น น้ำ น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
     ตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล น้ำมันสน เป็นต้น
     สารละลายที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราส่วนใหญ่มีน้ำเป็นตัวทำละลายเนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี ซึ่งสามารถละลายสารต่าง ๆ ได้หลายชนิด
     1)  ความสามารถในการละลายของสาร สารแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายที่ต่างกัน เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) จะละลายในน้ำได้ดีกว่าในแอลกอฮอล์นอกจากนี้ตัวทำละลายชนิดเดียวกันยังสามารถ ละลายสารได้ต่างกันด้วย เช่น โพแทสเซียมเปอร์แมงการเนต (ด่างทับทิม) จะละลายในน้ำได้ดีกว่าน้ำตาลทราย ดังนั้น นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องความสามารถในการละลายของสารในตัวทำละลายชนิด หนึ่ง ๆ ไปใช้ในการจำแนกสารได้
     2)  สารละลายอิ่มตัวและการเกิดผลึก สารละลายที่มีตัวละลายอยู่เต็มที่จนไม่สามารถละลายได้อีกแล้ว ณ อุณหภูมินั้นเราเรียกว่า สารละลายอิ่มตัว  และถ้านำสารละลายอิ่มตัว ณ อุณหภูมินั้นมาเพิ่มอุณหภูมิของสารละลายให้สูงขึ้น แล้วเติมสารที่เป็นตัวละลายลงไปอีก จนกระทั่งสารที่เติมนั้นไม่สามารถละลายได้อีกในช่วงเวลาพอสมควร สารละลายนี้เรียกว่า สารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง และถ้าตั้งสารละลายนี้ไว้ให้อุณหภูมิลดลงช้า ๆ จนเย็น โดยไม่มีการรบกวนจากการเขย่าหรือคนสารละลายนั้น จะมีสารแยกตัวออกมาในลักษณะเป็นของแข็งที่มีรูปร่างเฉพาะตัว มีเหลี่ยมมุมแน่นอน และผิวหน้าเรียบ ซึ่งเราเรียกว่าสารที่แยกตัวออกมาลักษณะนี้ว่า ผลึก
ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร
    
การละลายของสารแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ซึ่งสารจะละลายได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
     1)  ชนิดของสาร สารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายที่แตกต่างกัน สารต่างชนิดกันจะละลายในตัวทำละลายชนิดเดียวกันได้ไม่เท่ากัน
     2)  ปริมาณสาร จะเกี่ยวข้องกับอัตราส่วนระหว่างปริมาณของตัวละลายกับตัวทำละลาย ถ้าใช้ปริมาณตัวทำละลายน้อยก็จะละลายตัวละลายได้น้อย ถ้าใช้ตัวทำละลายมากก็จะละลายตัวถูกละลายได้มาก
     3)  อุณหภูมิ การละลายของสารจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น (ยกเว้นแก๊สจะละลายได้น้อยลง) เราจึงพบว่าเมื่ออุณหภูมิสารละลายอิ่มตัวให้สูงขึ้น ตัวละลายจะยังคงละลายได้อีก
     4)  ความดันอากาศ ในกรณีที่ตัวละลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำอัดลมจึงต้องใช้ความดันอากาศสูงถึง 3 บรรยากาศในการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในน้ำ
การเตรียมสารละลาย
      เมื่อใส่สารที่เป็นของแข็ง (ตัวละลาย) ลงไปในตัวทำละลาย (เช่น น้ำ และอื่น ๆ) จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 2 ขั้นตอน คือ
      1.  ของแข็งจะแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งต้องใช้พลังงานในการแยกโมเลกุลของแข็งออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ
      2.  อนุภาคเล็ก ๆ ที่แยกตัวออกมาจะแพร่กระจายไประหว่างโมเลกุลของน้ำ และยึดเหนียวกับโมเลกุลของน้ำ การยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำกับอนุภาคของสาร จะมีการคายพลังงานออกมา
ความเข้มข้นของสารละลาย
      สารละลายมีส่วนประกอบของตัวละลายและตัวทำละลายในปริมาณที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยเพื่อบ่งบอกให้รู้ปริมาณของตัวละลายและตัวทำละลายในรูป ของหน่วยแสดงความเข้มข้นซึ่งมีหลายหน่วย ดังนี้
      1)  ร้อยละโดยปริมาตร เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บอกปริมาณของตัวละลายเป็นลูกบาศก์เซนติเมตรที่มี อยู่ในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น สารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ 30% โดยปริมาตร หมายความว่า มีเอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นตัวละลายอยู่ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายในสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
      2)  ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (% W/V) เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บอกมวลของตัวละลายในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร เช่น สารละลายเกลือแกง 5% โดยมวลต่อปริมาตรหมายความว่า มีเกลือแกงซึ่งเป็นตัวถูกละลายอยู่ 5 กรัม ละลายอยู่ในสารละลายเกลือแกง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
             ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร   =    มวลตัวถูกละลาย         X   100
                                                   ปริมาตรของสารละลาย
      3)  ร้อยละโดยมวล เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บอกมวลของตัวละลายในสารละลาย 100 หน่วย ซึ่งเป็นสารละลายในสถานะของแข็ง เช่น ทองเหลือง เกิดจากสังกะสีละลายอยู่ในทองแดง ทองเหลือง 45% หมายความว่า มีสังกะสี 45 ส่วน ในทองเหลือง 100 ส่วน
      4)  ส่วนในล้านส่วน (Part per million : ppm) เป็น หน่วยความเข้มข้นที่บอกปริมาณของตัวละลายที่มีอยู่ในตัวทำละลลาย 1 ล้านส่วน เช่น สารละลายคลอรีน 1 ppm หมายความว่า มีคลอรีนซึ่งเป็นตัวละลลาย 1 ส่วน ละลายอยู่ในตัวทำละลาย 1 ล้านส่วน ปกติเราจะใช้หน่วย ppm ในกรณีที่ตัวละลายมีปริมาณน้อยมาก
การคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลาย
     เราสามารถคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายได้ 2 วิธี คือ
     วิธีที่ 1 คำนวณโดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์
     วิธีที่ 2 คำนวณโดยการใช้สูตร
ตัวอย่าง จงหาความเข้มข้นของสารละลายเกลือแกง ซึ่งประกอบด้วยเกลือแกง 8.0 กรัม ละลายในน้ำ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีที่ 1 คำนวณโดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์
         สารละลาย 200 cm3 มีเกลือแกง 8 g
         สารละลาย 100 cm3 มีเกลือแกง  = 8 x 100 = 4g
                                                       200
         . . . สารละลายมีความเข้มข้น 4 กรัมต่อ 100 cm3                                     ตอบ
วิธีที่ 2 คำนวณโดยการใช้สูตร
         กรัมต่อ 100 cm3 =        มวลของตัวถูกละลาย (g)    
                                    ปริมาตรตัวทำละลาย (100 cm3)
         แทนค่า กรัมต่อ 100 cm=    8     =  4                                              
                                              200      100
         . . . สารละลายมีความเข้มข้น  = 4 กรัมต่อ 100 cm3                        ตอบ

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2217

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสม
     สารเนื้อผสม เป็นสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอดทุกส่วน มีสมบัติของเนื้อสารในแต่ละส่วนต่างกันซึ่งระบุได้ชัดเจนว่ามีสารมากกว่า 1 อย่างเป็นองค์ประกอบ สารเนื้อผสมเป็นสารไม่บริสุทธิ์ซึ่งเราอาจเรียกว่า ของผสม ตัวอย่าง สารเนื้อผสม เช่น น้ำโคลน พริกเกลือ แกงส้ม ส้มตำ น้ำพริกปลาทู น้ำแกง ดิน เป็นต้น
     สารเนื้อผสม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
สารแขวนลอย     สารแขวนลอย (Suspension) คือ ของเหลวที่มีอนุภาคของของแข็งขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตรผสมอยู่ ซึ่งเป็นสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ ทำให้สามารถมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ง่ายต่อการแยกออกเมื่อทิ้งไว้จะตกตะกอนและสามารถแยกสารที่แขวนลอยอยู่ในสาร เนื้อผสมออกมาได้โดยการกรอง สารแขวนลอยบางชนิดจะมองเห็นอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ ในสารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลาง ตัวอย่างของสารแขวนลอย เช่น น้ำแป้ง น้ำตาลทรายในผงกำมะถัน น้ำโคลน เป็นต้น
คุณรู้หรือไม่ ?
     สเลอร์รี (Slurry) คือ สารแขวนลอยี่มีปริมาณของแข็งที่แขวนลอยอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างของสเลอร์รี่ที่พบ เช่น ซีเมนต์ผสมน้ำ ซึ่งมีลักษณะเหลวและข้น โดยปัจจุบันมนุษย์นำคุณสมบัติของสเลอร์รีมาใช้ประโยชน์โดยการนำซีเมนต์ผสมมา ใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ
คอลลอยด์
     คอลลอยด์ (Colloid) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเพอร์ชัน (Dispersion) เป็นสารเนื้อผสมที่มีความกลมกลืนจนไม่อาจจัดเป็นสารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อ ผสมลงไปได้อย่างแน่นอน มีขนาดของอนุภาคเล็กกว่าสารแขวนลอยแต่ใหญ่กว่าสารละลาย (อนุภาคมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-7 - 10-4 เซนติเมตร) ทำให้มองเห็นสารเป็นเนื้อเดียว
     อนุภาคของสารจะกระจายตัวและใหญ่กว่าอนุภาคของตัวละลายที่อยู่ในสารละลาย การที่สารสามารถกระจายตัวเป็นคอลลอยด์โดยไม่ตกตะกอน ก็เพราะว่าอนุภาคของสารที่เป็นคอลลอยด์อาจอยู่ในตัวกลางที่มีสถานะเป็นของ แข็ง ของเหลว หรือแก๊ส อนุภาคเหล่านี้สามารถผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน
     คอลลอยด์บางชนิดเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ เช่น เมฆบนท้องฟ้า หมอกในอากาศ บางชนิดเป็นคอลลอยด์ที่มนุษย์ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหารหรือใช้งานในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำนม น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ และสีทาบ้าน
     คอลลอยด์บางชนิดที่มนุษย์ทำขึ้น โดยการผสมสาร 2 ชนิดที่ไม่รวมตัวกัน แล้วเติมสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานทำให้สาร 2 ชนิด รวมตัวกันอยู่ได้ สารที่เป็นตัวประสารนี้ เรียกว่า อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) และเรียกคอลลอยด์ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้ว่า อิมัลซัน (Emulsion) เช่น น้ำสลัด ซึ่งประกอบด้วยน้ำมันพืชที่ผสมรวมกับน้ำสัมสายชูโดยมีไข่แดงเป็นอิมัลซิไฟ เออร์ (น้ำมันพืชกับน้ำส้มสายชูไม่รวมตัวกัน)
                                                     ตาราง แสดงชนิดของคอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน
                      
อนุภาคระดับนาโน
     อนุภาคระดับนาโน คือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก มีขนาดเกือบเท่าขนาดของอะตอมของธาตุ นั่นคือ อะตอมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-10 เมตร หรือ 0.0000000001 เมตร ส่วนอนุภาคระดับนาโนมีขนาดโตกว่าอะตอมเล็กน้อยคือ มีขนาด 10-9 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังคิดสร้างอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เท่ากับอนุภาคของนาโน เรียกว่า เครื่องจักรโมเลกุล ซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งในด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .


http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2220

สมบัติของสารละลายกรด-เบส

สารละลายกรด - เบส
สมบัติของสารละลายกรด - เบส
     สารละลายกรด (Acid) หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+)
     สารละลายเบส (Base) หมายถึง สารประกอบที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-)
สมบัติของสารละลายกรด
     สารละลายกรดมีสมบัติทั่วไป ดังนี้
     1.  กรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว กรดชนิดใดมีรสเปรี้ยวมากแสดงว่ามีความเป็นกรดมาก เช่น กรดแอซีติกที่เข้มข้นมากจะมีรสเปรี้ยวจัด เมื่อนำมาทำน้ำส้มสายชูจะใช้กรดแอซีติกที่มีความเข้มข้นเพียง 5% โดยมวลต่อปริมาตร (กรดแอซีติก 5 กรัม ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร) เพื่อให้มีรสเปรี้ยวน้อยพอเหมาะกับการปรุงอาหาร
     2.  เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สำหรับกระดาษลิตมัสเป็นอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเป็นเบส
     3.  กรดทำปฏิกิริกับโลหะบางชนิด เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม ดีบุก และอลูมิเนียม ได้แก๊สไฮโดรเจน (H2) เมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงไปในสารละลายกรดเกลือ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ฟองแก๊สไฮโดรเจนผุดขึ้นมาจากสารละลายกรดอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่าย และเนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ จึงมีผู้นำปฏิกิริยาดังกล่าวมาใช้เตรียมแก๊สไฮโดรเจน
     นอกจากนี้กรดจะทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน ปรอท ได้ช้ามากหรืออาจไม่เกิดปฏิกิริยา
               
     4.  กรดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ เช่น กรดเกลือทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นเบส ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง ทำปฏิกิริยารหว่างกรดและเบสที่พอดีจะเรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน
                
     5.  กรดสามารถเกิดปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเราสามารถทดสอบแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นผ่านแก๊สเข้าไปในน้ำปูนใส (สารละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำ) ซึ่งจะทำให้น้ำปูนใสขุ่นทันที เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำปูน ใสได้แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ
               
     6.  สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+)
     7.  กรดทุกชนิดมีค่า pH น้อยกว่า 7
     8.  กรดมีฤทธิ์กัดกร่อนสารต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ถ้ากรดถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน หากกรดถูกเส้นใยของเสื้อผ้า เส้นใยจะถูกกัดกร่อนให้ไหม้ได้ นอกจากนี้กรดยังทำลายเนื้อไม้ กระดาษ และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย
สมบัติของสารละลายเบส
     สารละลายเบสมีสมบัติทั่วไป ดังนี้
     1.  เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
     2.  เบสทำปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือและน้ำ ตัวอย่างเช่น สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก) จะได้เกลือโซเดียมคลอไรด์ นอกจากนี้สารละลายโซดาไฟสามารถทำปฎิกิริยากับกรดไขมันได้เกลือโซเดียมของกรด ไขมัน หรือที่เราเรียกว่า สบู่ (Soap)
     3.  เบสทำปฏิกิริยากับสารละลายแอมโมเนียมไนเดรตได้แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเรานำมาใช้ดมเมื่อเป็นลม
     4.  เบสทุกชนิดมีค่า pH มากกว่า 7 สามารถกัดกร่อนโลหะอลูมิเนียม และสังกะสี ทำให้มีฟองแก๊สเกิดขึ้น

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2225

ประเภทของสารละลายกรด

ประเภทของสารละลายกรด
     สารละลายกรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ ดังนี้
กรดอินทรีย์
     เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่ง มีชีวิต เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เกิดการเปลี่ยนสี ตัวอย่างเช่น
     1)  กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มีกรดแอซีติก 5% โดยมวลต่อปริมาตร)
     2)  กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น
     3)  กรดฟอร์มิก (Formic acid) หรือกรดมด
     4)  กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) หรือวิตามินซี
กรดอนินทรีย์
     เป็นกรดแก่ที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้ เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีม่วงเป็นสีเขียว กรดอนินทรีย์มีความสามารถกัดกร่อนสูงถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ตัวอย่างเช่น
     1)  กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ
     2)  กรดไนตริก (Nitric acid) หรือดินประสิว
     3)  กรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) หรือกรดหินปูน
     4)  กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน
อินดิเคเตอร์สำหรับกรด - เบส
     อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมีสมบัติเป็นกรดอ่อน หรือเบสอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อน
     สมบัติของอินดิเคเตอร์
     1.  อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด
     2.  อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ใหสีแตกต่างกัน
     3.  สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง
     เนื่องจากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดเปลี่ยนสีในช่วง pH จำกัดทำให้การตรวจหาค่า pH ของสารละลายไม่สะดวก จึงได้มีการนำอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่มีช่วง pH ต่อเนื่องมาผสมกันในอัตราส่วนพอเหมาะ โดยสามารถเปลี่ยนสีในช่วง pH ของสารละลายได้กว้าง เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)
      นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น น้ำคั้นจากกะหล่ำปลีสีม่วง น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ดอกกุหลาบ มาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ เรียกว่า "อินดิเคเตอร์ธรรมชาติ"
                                                    ตาราง แสดงช่วงการเปลี่ยนสีของอินเคเตอร์บางชนิด
                   
คุณรู้หรือไม่ ?     1.  ผงฟูหรือโซดาทำขนม มีชื่อเคมีว่า โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอนเนต (NaHCO3) มีสมบัติเป็นเบสเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดหรือถูกความร้อนจะสลายตัวให้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ นิยมนำมาใช้ทำขนมหรือใช้เป็นสารกำจัดกลิ่นในตู้เย็น
     2.  น้ำปูนใส มีชื่อเคมีว่า แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ได้จากการนำปูนขาวซึ่งมีชื่อเคมีว่าแคลเซียมออกไซด์ (CaO) มาละลายน้ำ และนำไปกรอง
     3.  ด่างคลี หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ใช้แช่ปลาหมึกสดเพื่อทำปลาหมึกกรอบ และใช้ทำสบู่
    
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .


http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2226

การตรวตสอบสารละลายกรด-เบส

การตรวจสอบสารละลายกรด - เบส
     สารละลายกรด - เบส ส่วนมากจะเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันด้วยตาได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ แต่เรามีวิธีทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ดังนี้
สารละลายลิตมัส
     สารละลายลิตมัส ทำจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัสลงในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้ำเงิน
     นอกจากสารละลายลิตมัสแล้วยังมีกระดาษลิตมัสซึ่งมี 2 สี คือ สีแดง กับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงและเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสี แดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
     อินดิเคเตอร์แบบลิตมัสจะบอกได้แต่เพียงว่าสารละลายใดเป็นกรด - เบส หรือเป็นกลางเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าสารชนิดใดมีความเป็นกรด - เบส มากกว่ากัน ถ้าเราต้องการทราบความเป็นกรด - เบส มากหรือน้อยต้องใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ซึ่งมีอยู่หลายแบบ ดังนี้
     1.  ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์มีทั้งแบบที่เป็นสารละลายและเป็นกระดาษ ที่อยู่ในรูปสารละลายเป็นกลางจะมีสีเขียว ส่วนที่เป็นกระดาษจะมีสีน้ำตาล ใช้เทียบความเป็นกรด - เบส กับแถบสีซึ่งจะบอกได้แต่เพียงว่าสารใดเป็นกรด - เบส มากน้อยกว่ากัน
     2.  ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบใช้วัดค่า pH ได้คร่าว ๆ โดยเทียบสี เช่น
          สีส้มมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3-4 เป็นกรด
          สีเขียวมีค่า pH = 7 เป็นกลาง
          สีม่วงมีค่า pH อยู่ระหว่าง 13-14 เป็นเบส
เครื่องวัดค่า pH (pH meter)
     pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า pH ของสารละลาย ซึ่งบอกค่าได้ละเอียดกว่าการตรวจสอบด้วยอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขที่หน้าปัด และยังสามารถแสดงค่า pH ที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยาด้วย
     ในการใช้งานเครื่อง pH meter ส่วนที่สำคัญและจะต้องบำรุงรักษานั้น คือ pH electrode เพื่อให้ผลของการวัดมีความถูกต้องแม่นยำ และยังช่วยให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
     การใช้งานและการบำรุงรักษา ควรล้าง pH electrode ด้วยน้ำกลั่นก่อนและหลังการวัดตัวอย่าง ซับแห้งด้วยกระดาษอ่อนนุ่มหรือสำลีเท่านั้น อย่าถู pH electrode แรง ๆ เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ที่จะรบกวนการวัดในครั้งต่อไป
การไทเทรต
     ถ้าเราต้องการรู้ค่าที่แน่นอนของกรด  เราสามารถทำได้โดยการหยดเบสลงไปทีละหยด จนสารละลายผสมเป็นกลาง โดยดูจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
     เมื่อหยดสารละลายเบสลงไปในสารละลายกรดที่มีลิตมัสผสมอยู่ สีของสารละลายจะเปลี่ยนไป หยดเบสลงไปจนกระทั่งสีของสารละลายจะเปลี่ยนไป หยดเบสลงไปจนกระทั่งสีของสารละลายเปลี่ยนเป็นสีม่วง แสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง
     ในทำนองเดียวกันเมื่อเราหยดสารละลายกรดลงไปในสารละลายเบสที่มีอินดิเคเตอร์ ผสมอยู่ สีจะเปลี่ยนไปจนได้สีม่วงซึ่งแสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง
     ปฏิกิริยาของกรดกับเบส เมื่อเป็นกลางจะได้สารละลายเกลือกับน้ำ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน (Neutralization reaction)
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2227

กรด-เบส ในชีวิตประจำวัน

กรด - เบส ในชีวิตประจำวน
     ในชีวิตประจำวันเราจะพบกับสารต่าง ๆ ซึ่งบางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบส โดยสารละลายกรด - เบส มีทั้งประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราควรจะเลือกใช้สารต่าง ๆ อย่างระมัดระวังและเหมาะสม
กรดในชีวิตประจำวัน
     สารละลายที่มีคุณสมบัติเป็นกรดที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
     -น้ำอัดลม ประกอบด้วยกรดคาร์บอนิก
     -น้ำส้มและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวประกอบด้วยกรดซิตริกซึ่งมีอยู่ในส้ม มะนาว ส้มโอ
     -ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร เช่น กรดแอซีติก ซึ่งมีในน้ำส้มสายชู เป็นต้น
     -ใช้ในสารทำความสะอาดพื้นบ้าน เช่น กรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น
เบสในชีวิตประจำวัน
     สารละลายเบสที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมีมากมายหลายชนิด เช่น
     -โซเดียมไบคาร์บอเนต ในปากของเรามีแบคทีเรียอาศัยอยู่แบคทีเรียเหล่านี้ใช้น้ำตาลเป็นอาหารโดย สลายน้ำตาลไปเป้นกรดที่เรียกว่า Plaque acid ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคฟันผุ ดังนั้นในยาสีฟันจึงผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบสที่ช่วยลดความเป็นกรด
     -แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ถ้าในกระเพาะอาหารมีกรดมากเกินไปทำให้อาหารไม่ย่อยและส่งผลให้เกิดอาการจุก เสียดหรือแน่นท้อง การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ Milk of magnesium จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ เพราะมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ
     -น้ำแอมโมเนียหรือแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ใช้ทำน้ำยาทำความสะอาดกระจก เป็นต้น
     -ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ทำขนมต่าง ๆ
     -สบู่ ใช้ทำความสะอาดร่างกาย มีหลายชนิดทั้งที่เป็นก้อนแข็ง เป็นของเหลว และเป็นครีม
     -ยาสระผม ใช้ทำความสะอาดเส้นผม
     -ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า
ข้อควรระวังในการใช้สารละลายกรด - เบส
     กรดเป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เช่น สามารถกัดกร่อนผิวหนังให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และถ้าสูดดมเอาไอของกรดเข้าไปจะเป็นพิษต่อระบบหายใจ ดังนั้น ในการใช้สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในชีวิตประจำวันจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะภาชนะที่นำมาบรรจุสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะบรรจุที่เป็นโลหะและพลาสติกโดยเด็ดขาด เนื่องจากกรดสามารถกัดกร่อนโลหะพวกสังกะสี   อลูมิเนียม    และสแตนเลสได้
     นอกจากนี้การใช้สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสเปรี้ยว เราต้องแน่ใจว่าสารนั้นไม่มีอันตราย ทั้งนี้ เป็นเพราะผู้ผลิตบางรายได้นำกรดกำมะถันซึ่งเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมา ทำให้เจือจางด้วยน้ำ แล้วปลอมปนนำมาขายแทนน้ำส้มสายชู เมื่อผู้ใดบริโภคเข้าไปจะทำให้สารเคลือบฟันถูกกัดกร่อน กระเพาะอาหารและลำไส้จะถูกกรดกัดกร่อนเป็นแผล ดังนั้น การใช้มะขามหรือน้ำมะนาวมาปรุงแต่งรสเปรี้ยวของอาหารแทนน้ำส้มสายชูจะมีความ ปลอดภัยมากกว่า
     สำหรับเบสต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ให้ถูกวิธี เช่น ผงซักฟอกใช้ซักล้างเสื้อผ้า ไม่ควรนำผงซักฟอกมาใช้ล้างจาน ชาม ถ้วยแก้ว กระทะ หม้อบรรจุอาหาร เพราะอาจจะมีสารตกค้างจากผงซักฟอก ซึ่งเป็นอันตรายเมื่อบริโภคเข้าไปและไม่ควรนำมาใช้สระผม เพราะเบสในผงซักฟอกกัดกร่อนหนังศีรษะ และเส้นผมได้

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ถนัด ศรีบุญเรือง  และคณะ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2229

ทฤษฎีการเลื่อนของเปลือกโลก


"รอยเลื่อนของเปลือกโลก

       เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และรวดเร็ว ซึ่งแรงที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเรียกว่าแรงเทคโทนิก” (Tectonic Force) หรือ แรงแปรสัณฐานอันเกิดจากความร้อนภายในโลก การขยายตัวและหดตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวของแมกมา (Magma) จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งแรงเทคโทนิกแบ่งออกเป็น 2 พวก คือกระบวนการไดแอสโตรฟิซึม" (Diastrophism) คือ รอยเลื่อนของผืนโลก ได้แก่ การโค้งงอ โก่งตัวและการแตกหักของผืนโลก และ กระบวนการโวลคานีซึม” (Volcanism) หรือการระเบิดของภูเขาไฟนั่นเอง
 


 
     

       ทั้งนี้ สาเหตุใหญ่ที่สุดในการเกิดแผ่นดินไหวก็คือ รอยเลื่อนที่กระทำต่อผิวโลกอาจทำให้เกิดเป็นที่ราบสูงหรือภูเขาไล้ และยังทำให้เกิดน้ำตก หรืออ่างน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งแผ่นดินไหวบางครั้งทำให้เปลือกโลกยุบตัวลง เกิดเป็นทะเลสาบที่เรียกว่า ทะเลสาบอ่าง” (Basin Lake) และยังจะทำให้แผ่นดินเลื่อนได้อีกด้วย
      
       ถ้ารอยเลื่อนเกิดภายใต้ท้องทะเล หรือมหาสมุทรแล้ว จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล ซึ่งทำให้เกิดคลื่นใหญ่เรียกว่า สึนามิ” (Tsunamis) หรือคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล (Tidal Wave) ซึ่งสึนามิเป็นชื่อเรียกคลื่นชนิดนี้ในภาษาญี่ปุ่น อันเป็นถิ่นที่มีลูกคลื่นแบบนี้บ่อยครั้ง
      
       รอยต่อของเพลตอันทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน

ประมาณ 95% ของแผ่นดินไหวเกิดจากบริเวณที่มีภูเขาไฟที่ยังคุอยู่ และมักเป็นพวกเทือกเขาเกิดใหม่ (Young Mountain) และเป็นบริเวณที่มีความไม่สมดุลในเรื่องแรงที่กระทำต่อผิวโลก จึงมีพวกไดแอสโตรฟิซึมและโวลคานีซึมอยู่มากมาย และมักจะเกิดรอยเลื่อน จัดเป็นแนวความอ่อนแอของเปลือกโลก (Lines of waekness) โดยผ่าน ทฤษฎีเพลตเทคโทนิกส์กล่าวว่า ชั้นนอกของโลก หรือชั้นธรณีภาค ประกอบด้วยเพลตขนาดใหญ่ประมาณ 12 เพลต แผ่นที่ใหญ่สุดคือ "ยูเรเซียน" (Eurasian) ซึ่งไทยก็อยู่ในแผ่นนี้ และใกล้กับแผ่น "ออสเตรเลียน" (Australian) แผ่น "ฟิลิปปิน" (Philippine) ส่วนแผ่นอื่นๆ ไล่จากทะเลแปซิกฟิกไปทางตะวันออก คือ "แปซิฟิก" (Pacific) ยวน เดอ ฟูกา (Juan de Fuca) นอร์ธ อเมริกา (North America) "แคริบเบียน" (Caribbean) "เซาธ์ อเมริกัน" (South American) "สก็อตเทีย" (Scotia) "แอฟริกา" (Africa) "อราเบียน" (Arbian) และอินเดียน (Indian)


       และเพลตเล็กๆ อีกเป็นจำนวนมาก เพลตเหล่านี้มีรูปทรงรับกันตามรอยต่อของเพลต รอยต่อของเพลตเหล่านี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่      
       1. สันเขาในมหาสมุทร (oceanic ridges) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่แยกกัน โดยมีหินละลายปะทุขึ้นมาตามรอยแยก ก่อเกิดเป็นเปลือกโลกรุ่นใหม่
       2.รอยเลื่อนแปรสภาพ (transform faults) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่เฉียดกัน
       3.เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zones) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่ปะทะกัน แล้วเพลตหนึ่งมุดตัวลงข้างใต้อีกเพลตหนึ่ง ทำให้เปลือกโลกส่วนที่มุดนั้น หายลงไปในชั้นแมนเทิล
      
       ทั้งนี้ รอยต่อของเพลตที่ซับซ้อนที่สุด เป็นรอยต่อที่เพลตสามเพลตปะทะกัน เรียกว่ารอยต่อสามผสาน” (triple junction) รอยต่อลักษณะนี้อาจประกอบด้วยรอยต่อต่างๆ ทั้งสามประเภทผสมผสานกัน และแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเพลต แม้รอยต่อระหว่างเพลตมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทก็ตาม แต่เราแบ่งแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อเหล่านี้ออกเป็น 4 ประเภท คือ
      
       1.แผ่นดินไหวตื้น ที่เกิดขึ้นบริเวณสันเขาในมหาสมุทร
       2.แผ่นดินไหวตื้น ที่เกิดขึ้นตามรอยเลื่อนแปรสภาพ เช่น รอยเลื่อนซานอันเดรียส ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
       3.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง และแผ่นดินไหวลึก ที่เกิดขึ้นตามแนวมุดตัวของเปลือกโลก บริเวณแนวโค้งภูเขาไฟ
       4.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง และแผ่นดินไหวลึก ที่เกิดขึ้นตามแนวเทือกเขาสำคัญ ๆ เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูฏ แนวแผ่นดินไหวนี้เริ่มจากบริเวณเมดิเตอเรเนียน จนเกือบถึงประเทศจีน
      
       เมื่อ เพลตเทคโทนิกส์แยกออกจากกันตามแนวแกนของสันเขากลางมหาสมุทร ขณะที่เพลตแยกออกจากกัน มีรอยเลื่อนและการปะทุของลาวา ปรากฏขึ้นตรงรอยแยก ก่อให้เกิดภูเขาและผาชันตามแนวดังกล่าว บริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แนวภูเขาไฟ แถบแม่เหล็กสลับขั้วในหิน 2 ด้านของรอยแยก มีการไหลถ่ายความร้อนปริมาณสูงกว่าบริเวณอื่นบนเปลือกโลกหลายเท่า และการยกตัวของภูมิประเทศ พบว่าภูเขาไฟกว่า 200 แห่ง เรียงรายอยู่ตามแนวยกตัวของพื้นทะเล ภูเขาไฟหลายแห่งยังมีพลัง การไหลถ่ายความร้อนมีปริมาณสูงมาก

       นอกจากนี้ยังปรากฏรอยแยกขนาดใหญ่อันเกิดจากแรงดึงนี้ ตามแนวยกตัวบริเวณเกาะไอซ์แลนด์เป็นจำนวนมาก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงตรงรอยแยกเหล่านี้ ก่อให้เกิดสันเขาบล็อกรอยเลื่อน (fault block ridges) เรียงรายคล้ายขั้นบันไดยักษ์ไปตามร่องหุบเขา แม้ลาวามีการปะทุขึ้นมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้น บ่อยๆ ตลอดห้วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา
      
       ทวีปส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเพลต ที่มีรอยต่อระหว่างเพลต อันเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนที่อยู่ในมหาสมุทร รอยแยกของเพลตแอฟริกากับเพลตยูเรเชียทำให้เกิดทะเลแดง และรอยแยกของเพลตแปซิฟิกกับเพลตอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดอ่าวแคลิฟอร์เนีย เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ทั้งที่ทวีปเคลื่อนที่แยกกันไปเป็นเวลานานแล้ว กลับสามารถนำมาปะติดปะต่อกันตามแนวชายฝั่งทวีปได้อีก เหมือนเมื่อทวีปเพิ่งเริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก

ทฤษฎีการเคลื่อนที่
ทฤษฎีวงจรการพาความร้อน (Convection current theory)
     กล่าวไว้ว่าการหมุนเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก มีลักษณะเช่นเดียวกับการเดือดของน้ำในแก้ว กล่าวคือโลกส่งผ่านความร้อนจากแก่นโลกขึ้นมาสู่ชั้นแมนเทิล ซึ่งมีลักษณะเป็นของไหลที่มีสถานะกึ่งแข็งกึ่งเหลว และผลักดันให้สารในชั้นนี้หมุนเวียนจากส่วนล่างขึ้นไปสู่ส่วนบนส่งผลให้เปลือกโลกซึ่งเป็นของแข็งปิดทับอยู่บนสุดเกิดการแตกเป็นแผ่น (Plate) และเคลื่อนที่ในลักษณะเข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกัน

การไหลเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก


ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly)
     ในปี ค.ศ.1915 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ alfred Wegenerได้เสนอสมมติฐานทวีปเลื่อนขึ้น และได้รับการยอมรับในปี ค.ศ.1940 สมมติฐานกล่าวไว้ว่า เมื่อราว 250 ล้านปีก่อน ทวีปต่าง ๆ เคยติดกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า พันเจีย (Pangea) ต่อมามีการเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานที่เชื่อว่าแผ่นทวีปเคลื่อนที่นี้คือ ในปัจจุบันได้พบชนิดหิน ที่เกิดในสภาวะแวดล้อมเดียวกันแต่อยู่คนละทวีปซึ่งห่างไกลกันมากหินอายุเดียวกัน ที่อยู่ต่างทวีปกันมีรูปแบบสนามแม่เหล็กโลกโบราณคล้ายคลึงกัน และขอบของทวีปสามารถเชื่อมตัวประสานแนบสนิทเข้าด้วยกันได้
ทฤษฎีเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแยกตัว (Sea Floor Spreading Theory)
     จากปรากฎการณ์การแตกตัวและแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและใต้มหาสมุทรสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การเกิดหมู่เกาะภูเขาไฟ การเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร การขยายตัว และการเกิดใหม่ของมหาสมุทร ทำให้เกิดสมมติฐานและกลายเป็นทฤษฎีนี้ขึ้นเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกต่าง ๆ

ขอบเขตและการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลก

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(plate Tectonic Theory)
     เกิดจากการนำทฤษฎีทวีปเลื่อนและทวีปแยกมารวมกันตั้งเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นมาโดยกล่าวไว้ว่าเปลือกโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแผ่นที่สำคัญ จำนวน 13 แผ่น โดยแต่ละแผ่นจะมีขอบเขตเฉพาะได้แก่ แผ่นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยูเรเซีย แอฟริกา อินเดีย แปซิฟิก แอนตาร์กติก ฟิลิปปินส์ อาหรับ สกอเทีย โกโก้ แคริเบียน และนาซก้าแผ่นเปลือกโลกทั้งหมดไม่หยุดหนิ่งอยู่กับที่จะมีการเ เคลื่อนที่ตลอดเวลาใน 3 แบบ ได้แก่การเคลื่อนที่เข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกันซึ่งผลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น แผ่นดินไหว เทีอกเขา ภูเขาไฟ และกระบวนการเกิดแร่และหิน

ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลกใต้เคลื่อนที่เข้าหากัน

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกตัวออกจากกันและเข้าหากัน

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานแยกออกจากกัน


การเดินทางของอนุทวีปไทย

เมื่อ465ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยยัง แยกตัวอยู่ใน 2 อนุทวีปฉานไทย(ส่วนของภาคเหนือลงไปถึงภาคตะวันออกและภาคใต้) และอนุทวีปอินโดจีน (ส่วนของภาคอิสาน) อนุทวีปทั้งสองขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินกานด์วานา (ดัดแปลงจาก Burrett et al,1990,Metcafe,1997)

ต่อมาประมาณ 400-300 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยทั้งส่วนอนุทวีปฉานไทยและอนุทวีปอินโดจีน ได้เคลื่อนที่แยกตัวออกจากผืนแผ่นดินกอนด์วานา แล้วหมุนตัวตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปทางเหนือ (ดัดแปลงจาก
Bunopas,1981,Burrett,1990,Metcafe,1997)

เมื่อประมาณ 220 ล้านปีก่อนอนุทวีปฉานไทยได้ชนกับอนุทวีปอินโดจีนรวมกันเป็นอนุทวีปที่เป็นปัจจุบันเรียกว่าคาบสมุทรมลายูแล้วไปรวมกับจีนตอนใต้รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย (ดัดแปลงจาก Bunopas,1981,Meteafe,1997)

จากนั้นประเทศไทยในคาบสมุทรมลายูได้เคลื่อนที่
มาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน

ที่มาข้อมูล : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=9963&mul_source_id=017245

การเกิดคลื่น

การ เกิดคลื่น (Wave)
คลื่นเกิดจากลม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และจากการที่ลมพัดมากระทบกับผิวน้ำ จะทำให้ผิวน้ำนูนสูงขึ้นคล้ายสันเขาความสูงของคลื่นทำให้เราทราบถึงความแรง ของลม เมื่อคลื่นเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากมันรวมเอา คลื่นขนาดเล็กๆ เข้าไปไว้ด้วย

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้ากระทบฝั่งจะกระทบกับพื้นก่อนทำให้คลื่นมีความสูง มากขึ้นแนวด้านหน้าของคลื่นจะโค้งขนานไปกับชายฝั่ง เราเรียกว่าการหักเหของคลื่น เมื่อใกล้ฝั่งมากขึ้น แรงเสียดทานของพื้นทะเลจะมีมากขึ้นทำให้ผิวหน้าของคลื่นแตก เราเรียกว่า “คลื่นหัวแตก” (Breaker) เราจะสังเกตเห็นได้เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้ามากระทบฝั่ง น้ำจะแตกซ่าเป็นฟองกลายเป็นฟองคลื่นบนหาด

สำหรับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด เราเรียกว่า “ชูนามิส์“(Tsunamis) ป็นมีความยาวของคลื่นประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร แต่มีความสูงเพียง 0.3 - 0.6 เมตร เมื่อเกิดคลื่นชนิดนี้ผู้ที่อยู่บนเรือหรือชาวประมงจะไม่สามารถสังเกตเห็น ได้ ประกอบกับระยะเวลาในการเกิดคลื่นจะสั้นมาก คือ ประมาณ 10 – 30 วินาทีเท่านั้น แต่คลื่นชนิดนี้จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงถึง 500 - 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นเมื่อคลื่นชูนามิส์ เคลื่อนที่เข้าหาฝั่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลชายฝั่งสูงกว่าสภาพปกติ 15 - 30 เมตร จึงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอันมาก

ส่วนประกอบของคลื่น
คลื่นประกอบด้วยส่วนของยอดคลื่น (Crest) คือจุดสูงสุดบนคลื่น ส่วนท้องคลื่น (Trough) คือ ระยะในแนวดิ่งจากยอดคลื่นถึงท้องคลื่น และ ความสูงของคลื่น (Amplitude) คือระยะในแนวราบจากยอดคลื่น หรือจากท้องคลื่นถึงอีกท้องคลื่นหนึ่งต่อเนื่องกันสำหรับการเคลื่อนที่ ของกระแสน้ำในคลื่นมีลักษณะการเคลื่อนที่แบบวงกลม เกิดทั้งบริเวณผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ วงกลมของการเคลื่อนที่หมุนวนของกระแสน้ำจะเล็กลง เมื่อระดับความลึกเพิ่มขึ้น บริเวณน้ำตื้นท้องคลื่นจะเคลื่อนที่กระทบพื้นดิน การเคลื่อนจะมีลักษณะเป็นวงรี เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ส่วนบนของผิวน้ำของคลื่นยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ขณะที่ท้องคลื่นมีแรงเสียดทานจากพื้นผิว คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้น ม้วนตัว และถลำไปข้างหน้า เกิดการฟาดตัวกับชายฝั่ง กลายเป็นคลื่นแตกฟอง เราเรียกว่า "คลื่นหัวแตก" (Breaker หรือ Surf) คลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งบนสภาพที่มีความลาดชันน้อยเราเรียกว่า "การเข้าหาฝั่งของน้ำทะเล" (Swash) เมื่อคลื่นซัดกระทบหาดแล้วสลายตัวไปในที่สุด เราเรียกว่า "การถอยกลับของน้ำทะเล" (Backwash)
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=9785

การทดลอง

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=8351
คงมีหลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามจะเป่าลูกโป่ง แต่กว่าจะเป่าได้ก็แก้มบวมไปเลย  แต่ตอนนี้เรามีวิธีการเป่าลูกโป่งที่ง่ายกว่านั้น   เอาละถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มเตรียมการทดลองเลย

                
                   อุปกรณ์
                  1. ลูกโป่งกลม 1 ใบ
                  2. กรวย 1 อัน
                  3. ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
                  4. น้ำส้มสายชู
                  5. ขวดพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร
                  6. ช้อนโต๊ะ


การทดลอง
1.  นำลูกโป่งครอบเข้ากับกรวย ดังภาพที่ 1  แล้วบรรจุผงฟูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในลูกโป่ง
2.  บรรจุน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกใส ประมาณ 1 ใน 4 ของขวด   โดยใช้กรวย เพื่อไม่ให้น้ำส้มสายชูหก
3.  นำลูกโป่งที่บรรจุผงฟูครอบลงไปบนปากขวดพลาสติก ดึงให้แน่น ( ระวังอย่าเพิ่งให้ผงฟูร่วงลงในขวด)
4.  เมื่อแน่ใจว่า ลูกโป่งยึดติดกับปากขวดแน่นแล้ว ให้ยกลูกโป่งขึ้น เพื่อให้ผงฟูหล่นลงในน้ำส้มสายชู สังเกตผลการทดลอง


          เป็นอย่างไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่ง  เมื่อเรายกลูกโป่งขึ้นเพื่อให้ผงฟูที่อยู่ด้านในร่วงลงไปรวมกับน้ำส้ม สายชู   จะสังเกตเห็นว่ามีฟองอากาศปุดๆ เกิดขึ้นมากมายภายในขวดพลาสติก  แล้วเจ้าลูกโป่งที่นอนคอพับอยู่ก็ค่อย ๆ พองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  หากเราใช้น้ำส้มสายชูและผงฟูมากเกินไป  ลูกโป่งก็อาจจะแตกได้ หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่เราหายใจออกมานั่นเอง
           เมื่อน้ำส้มสายชูรวมกับผงฟู หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี  และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น   จนได้สารชนิดใหม่  ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์  สำหรับผงฟูนั้นหลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำขนม  ซึ่งประโยชน์ของผงฟูนั้นนอกจากจะช่วยทำให้อาหารขึ้นฟู โดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคุกกี้ แล้ว ยังสามารถนำผงฟูไปผสมกับน้ำ  สำหรับแช่ผักผลไม้    ซึ่งจะสามารถลดสารพิษตกค้างได้ถึง 90-95  เปอเซ็นต์

ระบบอวัยวะ

ระบบอวัยวะ
ดูบทความหลักที่ ระบบอวัยวะ
กลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกันเรียกว่า ระบบอวัยวะ (organ system) อวัยวะในระบบเดียวกันอาจมีความสัมพันธ์ร่วมกันได้หลายทาง แต่มักจะมีลักษณะหน้าที่การทำงานเกี่ยวข้องกัน เช่น ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการผลิต เก็บ และขับปัสสาวะออก
หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system)

รายชื่อระบบอวัยวะหลักๆ ในร่างกายมนุษย์
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบหลักๆ 11 ระบบ

ระบบทางเดินอาหาร - การดูดซึมสารอาหาร และขับถ่ายกากอาหารออก
ระบบโครงกระดูก - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
ระบบกล้ามเนื้อ - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว สร้างความร้อน
ระบบประสาท - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยสัญญาณทางไฟฟ้าเคมี
ระบบต่อมไร้ท่อ - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยฮอร์โมน
ระบบไหลเวียนโลหิต - ขนส่งสารภายในร่างกาย
ระบบหายใจ - กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และดูดซึมแก๊สออกซิเจน
ระบบสืบพันธุ์ - ผลิตลูกหลานเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ระบบปกคลุมร่างกาย - ปกคลุมร่างกายภายนอก
ระบบน้ำเหลือง - ควบคุมของเหลวในร่างกาย และทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ - ขับถ่ายของเสีย และควบคุมสมดุลเกลือแร่
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=5335

บรรยากาศ

บรรยากาศศาสตร์ (Atmospheric sciences) เป็นคำศัพท์กลางๆ ใช้เรียกการศึกษาด้านบรรยากาศ ซึ่งได้แก่กระบวนการ ผลของระบบอื่นๆ ที่มีต่อบรรยากาศ และ ผลของบรรยากาศที่มีต่อระบบอื่นๆ อุตุนิยม ซึ่งรวมถึง "เคมีบรรยากาศ" และ "ฟิสิกส์บรรยากาศ" ที่หลักๆ เน้นไปที่การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศวิทยา (Climatology) ได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ทั้งระยะยาวและระยะสั้น) ที่จะบ่งชี้ภูมิอากาศเฉลี่ย และการเปลี่ยนไปตามเวลาที่เนื่องมาจากทั้งภูมิอากาศที่ผันแปรตามธรรมชาติ และภูมิอากาศที่ผันแปรตามกิจกรรมของมนุษย์ สาขาวิชาด้านบรรยากาศศาสตร์ได้ขยายตรอบคลุมถึงสาขาศาสตร์แห่งดาวเคราะห์และการศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล
บรรยากาศ คือ อากาศที่ห้อหุ้มโลกของเราอยู่โดยรอบ โดยมีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กม. ที่บริเวณใกล้พื้นดินอากาศจะมีความหนาแน่นมากและความหนาแน่นของอากาศจะลดลงเมื่อสูงขึ้นไปจากระดับพื้นดิน

การแบ่งชั้นบรรยากาศ

บรรยากาศแบ่งไม่ได้แบ่งเป็นชั้นที่มองเห็นได้ แต่จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้

โทรโพสเฟียร์ (troposphere)

เป็น ชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 15 กม. อุณภูมิจะค่อยๆลดลงตามระดับความสูง และเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย

 สตราโทสเฟียร์ (stratosphere)

เป็น ชั้นที่มีเสถียรภาพต่ำสุด มีความสูงตั้งแต่ 15-50 กม. อุณหภูมิในระดับล่างของชั้นนี้จะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กม. จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น

 มีโซสเฟียร์ (mesosphere)

เป็น ช่วงบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินในช่วง50-80 กม.อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นนี้อากาศยังเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ ทั้ง 3 ชั้นรวมทั้งหมดเรียกว่า โฮโมสเฟียร์ (homosphere)

 เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)

เป็น ช่วงบรรยากาศที่มีระดับความสูง 80-50 กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ( เนื่องจากใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ) จนถึงระดับประมาณ 100 กม. จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นนี้คือ 227-1727 องศาเซลเซียส ชั้นนี้ยังมีแก็สที่เป็นประจุไปฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ เราอาจเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ก็ได้

 เอกโซสเฟียร์ (exosphere)

เริ่มตั้งแต่ 500 กม.จากผิวโลกขึ้นไป บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมากจนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส ถึงแม้อุณหภูมิจะสูงแต่เนื่องจากอากาศเบาบางมาก จึงแทบไม่มีผลต่อยานอวกาศhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3697